ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะพลาสมาขุ่นขาวจากไขมันในผู้บริจาคโลหิต
Keywords:
Lipemic plasma, Discarding blood, HypertriglyceridemiaAbstract
บทคัดย่อ
โลหิตบริจาคที่มีลักษณะพลาสมาขุ่นขาวจากไขมันเป็นลักษณะที่ไม่เหมาะสมที่จะนำไปให้ผู้ป่วย อาจทำให้อัตราการแตกของเม็ดเลือดแดงสูงขึ้นและอาจให้ผลลบปลอมในการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อ จึงต้องทิ้งโลหิตดังกล่าว ดังนั้นหากผู้บริจาคโลหิตสามารถประเมินตนเองได้ว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะมีพลาสมาขุ่นขาวจากไขมันและงดบริจาค จะช่วยลดความสูญเปล่าจากการทิ้งเลือดจากสาเหตุดังกล่าวได้ วัตถุประสงค์ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดพลาสมาขุ่นขาวในโลหิตบริจาค และเปรียบเทียบอัตราการแตกของเม็ดเลือดแดงที่เก็บในพลาสมาขุ่นขาวและพลาสมาปกติ วัสดุและวิธีการ ศึกษาในผู้บริจาคโลหิตที่บริจาคโลหิต ณ โรงพยาบาลหนองคาย โดยตรวจสอบความขุ่นขาวของพลาสมาด้วยตาเปล่า เก็บข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้วยแบบสอบถาม วัดระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในซีรัม และหาอัตราการแตกของเม็ดเลือดแดงด้วยการวัดค่าฮีโมโกลบินในพลาสมาเปรียบเทียบกับค่าในเลือดรวม ผลการศึกษา ผู้บริจาคโลหิตจำนวน 392 คนแบ่งเป็นกลุ่มพลาสมาขุ่นขาว 41 คน และกลุ่มพลาสมาปกติ 351 คนพบว่า เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย และระดับไตรกลีเซอไรด์ มีความสัมพันธ์กับภาวะพลาสมาขุ่นขาว โดยเพศชายมีความเสี่ยงที่จะมีพลาสมาขุ่นขาวมากกว่าเพศหญิง (Odds ratio (OR) 3.10; ค่าความเชื่อมั่น 95%: 1.55-6.18) อายุ >35 ปี มีความเสี่ยงมากกว่าอายุ ≤ 35 ปี (OR 2.50; ค่าความเชื่อมั่น 95%: 1.29-4.85) ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 25.0 kg/m2 มีความเสี่ยงมากกว่าค่าดัชนีมวลกาย < 25.0 kg/m2 (OR 2.69; ค่าความเชื่อมั่น 95%: 1.39-5.19) ระดับไตรกลีเซอไรด์ 151-300 mg/dl และ > 300 mg/dl มีความเสี่ยงมากกว่าระดับ 0-150 mg/dl (OR 8.05; ค่าความเชื่อมั่น 95%: 3.10-20.9 และ OR 58.3; ค่าความเชื่อมั่น 95%: 19.5-175 ตามลำดับ) และพบว่าอัตราการแตกของเม็ดเลือดแดงที่เก็บในพลาสมาขุ่นขาวและพลาสมาปกติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ของการจัดเก็บ (p=0.012) สรุป พลาสมาขุ่นขาวส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่จัดเก็บมีอายุสั้นลง อีกทั้งพบว่า เพศ อายุ และดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับภาวะพลาสมาขุ่นขาว ข้อมูลดังกล่าวอาจใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์การจัดหาผู้บริจาคโลหิต เพื่อลดการทิ้งโลหิตเนื่องจากพลาสมาขุ่นขาวจากไขมันได้
Abstract:
Background: Donated blood with lipemic plasma must be discarded because of inappropriate use for the patients. In addition, the lipemic plasma may increase hemolysis rate of red cells and may leading to false negative result of infectious screening tests. If blood donor can self-risk evaluate of lipemic plasma and defer themselves to donate blood, it may reduce plasma discarding. Objective: This study aims to identify the risk factors for lipemic plasma in blood donors, and to compare the hemolysis rate between red cells kept in lipemic plasma and normal plasma. Methods: The subjects are blood donors who donated blood at Nongkhai hospital. The lipemic plasma was determined by visual inspection. The risk factors were evaluated from questionnaire. The level of triglyceride and cholesterol in the sera were determined. The hemolysis rate of red cells was evaluated by the ratio of hemoglobin concentration in plasma and the whole blood. Results: A total 392 plasma samples consisted of 41 with lipemic and 351 with normal plasma. Sex, age, body mass index, and triglyceride levels, were associated with lipemic plasma. Male was associated with increased risk than female (Odds ratio (OR) 3.10; 95% confident interval (CI): 1.55-6.18). Age greater than 35 years had higher prevalent than age ≤ 35 years in lipemia (OR 2.50; 95% CI: 1.29-4.85). Body mass index (BMI) ≥ 25.0 kg/m2 had higher risk than BMI < 25.0 kg/m2 (OR 2.69; 95% CI: 1.39-5.19). Sera triglyceride level of 151-300 mg/dl and >300 mg/dl had higher risk than triglyceride level 0-150 mg/dl (OR 8.05; 95% CI: 3.10-20.9 and OR 58.3; 95% CI: 19.5-175, respectively). In addition, red cells kept in lipemic plasma showed significantly higher levels of hemolysis rate than red cells in normal plasma after 7 days storage (p=0.012). Conclusion: Lipemic plasma could lead to the shorter age of red cells. Also, the risk factors for lipemia: sex, age and BMI might be used as guideline for donation without lipemic plasma to avoid blood discarding.