การวิเคราะห์ปริมาณการค้นคืนหมู่เลือดระบบอื่นๆ จากฐานข้อมูลเทียบกับปริมาณความต้องการของผู้ป่วยธาลัสซีเมียในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Keywords:
Thalassemia patients, Other blood group antigens, Retrieval database system, Blood transfusionAbstract
บทคัดย่อ
ความเป็นมา ผู้ป่วยธาลัสซีเมียเป็นกลุ่มที่ได้รับเลือดเป็นประจำจึงมีโอกาสสร้างแอนติบอดี ทำให้หาเลือดที่เข้ากันได้กับผู้ป่วยได้ยากขึ้น ในการตรวจหมู่เลือดระบบอื่นๆ นอกเหนือระบบ ABO ในผู้บริจาคโลหิตนั้นมีหลายขั้นตอน สิ้นเปลืองเวลา และทรัพยากร การมีระบบฐานข้อมูลที่สามารถจัดเก็บและค้นคืนข้อมูลหมู่เลือดระบบอื่นๆ ทั้งของผู้บริจาคโลหิตและผู้ป่วย จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ วัตถุประสงค์ เพื่อเก็บข้อมูลหมู่เลือดระบบอื่นๆ ในผู้บริจาคโลหิตและวิเคราะห์ปริมาณการค้นคืน จากฐานข้อมูลเทียบกับปริมาณความต้องการของผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ใช้จริงในห้องปฏิบัติการในแต่ละสัปดาห์ วัสดุและวิธีการ เก็บข้อมูลหมู่เลือดระบบอื่นๆ ของผู้บริจาคโลหิตและผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่รับเลือดเป็นประจำลงในฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้น และค้นคืนข้อมูลหมู่เลือดระบบอื่นๆ ของผู้บริจาคโลหิตตามความต้องการเลือดของผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่มารับเลือดรายสัปดาห์ ย้อนหลัง เป็นเวลา 1 ปี รวม 51 สัปดาห์ ตั้งแต่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ความเพียงพอของข้อมูลหมู่เลือดระบบอื่นๆ จากการเปรียบเทียบปริมาณความต้องการเลือดของผู้ป่วยธาลัสซีเมียกับปริมาณการค้นคืนจากฐานข้อมูลโดยแยกตามหมู่เลือดระบบ ABO ผลการศึกษา ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิต หมู่เลือด A, B และ O ที่มีแอนติเจน E และ c เป็นลบ หรือ E ลบ c บวกมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยธาลัสซีเมียในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ส่วนหมู่เลือด AB ยังมีปริมาณการค้นคืนไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วย สรุป การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับบันทึกและค้นคืนหมู่เลือดระบบอื่นๆ ในผู้บริจาคโลหิตและผู้ป่วยที่ได้รับเลือดประจำช่วยลดภาระงานและค่าใช้จ่ายรวมถึงเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยได้เลือดที่มีแอนติเจนเข้ากันได้รวดเร็วขึ้น
Abstract:
Background: Thalassemia patients, who receive regular blood transfusion, could stimulate the development of antibodies. These antibodies cause the difficulty in searching matched red blood cells. Furthermore, blood group antigen typing waste time and resources. The blood group database system for data input and retrieval could solve these problems. Objective: To collect blood group typing results data in database system andanalyze the data retrieval from database in comparison with the Thalassemia patient request data per week. Materials and Methods: Blood group antigens data of donors and patients were collected in database system. Donor’s blood group data was retrieved for the Thalassemia patient request in weekly for 1 year, altogether 51 weeks from 4 January to 26 December 2013. We analyzed the sufficiency of the blood group data retrieval to meet with the patients requirements classified according to ABO blood group. Results: In the A, B and O blood group with antigen E and c negative, the donor antigens retrieved from database were perfectly adequate for the Thalassemia patient request in Songklanagarind Hospital. Whereas in AB blood group, the blood group data retrieval was inadequate. Conclusion: The development of database system for other blood group data input and retrieval for regular blood transfusion patients can save time, budgets and raise opportunity to receiveappropriate blood as soon as possible.