การพัฒนาการจัดหาโลหิตของจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558
Keywords:
Donor recruitment, Blood shortage, Voluntary donor, Replacement donorAbstract
บทคัดย่อ
บทนำ ปัญหาการขาดแคลนโลหิตของประเทศไทยพบได้บ่อยครั้งทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ซึ่งจังหวัดนครสวรรค์ก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน สาเหตุหลัก เนื่องจากประชาชนยังมีการบริจาคโลหิตจำนวนน้อยและความไม่สม่ำเสมอของการจัดหาโลหิตในแต่ละเดือน ดังนั้น ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ จึงคิดพัฒนาการจัดหาโลหิตของจังหวัดนครสวรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเภทและปริมาณการบริจาคโลหิตในจังหวัดนครสวรรค์ รวมทั้งความสม่ำเสมอของการจัดหาโลหิตในแต่ละเดือน วัสดุและวิธีการ ศึกษาข้อมูลการจัดหาโลหิตของจังหวัดนครสวรรค์ จากฐานข้อมูลการส่งตรวจโลหิตของภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558 ผลการศึกษาการพัฒนาการจัดหาโลหิตของจังหวัดนครสวรรค์ใช้ 3 กลยุทธ์ คือ การบริหารจัดการหน่วยเคลื่อนที่ร่วมกับการใช้นโยบายเชิงรุก และประเมินผลของการปฏิบัติงาน จุดประสงค์เพื่อจัดหาโลหิตให้ได้มากกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรในจังหวัดนครสวรรค์และมีความสม่ำเสมอในแต่ละเดือน จากข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 พบว่าจังหวัดนครสวรรค์จัดหาโลหิตได้ 22,000-24,000 ยูนิตต่อปี หรือร้อยละ 2.0-2.2 ของจำนวนประชากร เป็นโลหิตที่บริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน (ร้อยละ 80-85) และโลหิตทดแทน (ร้อยละ 15-20) ซึ่งภายหลังการพัฒนาการจัดหาโลหิตพบว่า ปี พ.ศ. 2556 มีผู้บริจาคโลหิตจำนวน 30,543 ยูนิต และเพิ่มขึ้นเป็น 32,891 และ 34,635 ยูนิต ในปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 ซึ่งพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.0015) เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในขณะนั้นคิดเป็นร้อยละ 2.85, 3.07 และ 3.23 ตามลำดับ โลหิตที่บริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 88-93) และโลหิตทดแทนลดลง (ร้อยละ 7-12) ด้านความสม่ำเสมอของการจัดหาโลหิต พบว่าปี พ.ศ. 2553-2556 ไม่สามารถศึกษาข้อมูลได้ แต่ในปี พ.ศ. 2558 พบความสม่ำเสมอของการจัดหาโลหิตในแต่ละเดือนใกล้เคียงกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2557 สรุป ผลจากการพัฒนาการจัดหาโลหิตของจังหวัดนครสวรรค์พบว่า สามารถจัดหาโลหิตได้มากกว่า 30,000 ยูนิต ต่อปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 มีผู้บริจาคโลหิตมากกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรในจังหวัด โดยที่ผู้บริจาคโลหิตโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและผู้บริจาคโลหิตทดแทนมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ความสม่ำเสมอของการจัดหาโลหิตในแต่ละเดือนใกล้เคียงกันมากขึ้น
Abstract:
Background: Blood shortage problem occurs frequently both in Bangkok and in other provincices of Thailand such as Nakhonsawan province. The major problems were due to shortage of blood donors and irregular blood donor recruitment in each month. Therefore, the Regional Blood Centre VIII, Nakhonsawan province developed the 3 strategies for blood donor recruitment to solve these problems. Objective: To study type and number of blood donations at Nakhonsawan province as well as regularity of blood donation in each month. Study design: This study was designed to collect data of the blood donation from the laboratory tests database at the Regional Blood Center VIII, Nakhonsawan province from 2013 to 2015. Results: The 3 strategies to improve blood donor recruitment in Nakhonsawan province were good management of mobile units coordination with proactive policy and evaluation of service mind. The objectives were to increase blood donor recruitment more than 3% of population and consistency of blood donor recruitment. Between 2010 and 2012, Nakhonsawan province received blood donation about 22,000-24,000 units/year (2.0-2.2% of population) from voluntary blood donor (80-85%) and replacement donor (15-20%). Improving of blood donor recruitment was started in 2013. In 2013, the number of blood donation was 30,543 units/year and was significantly increased to 32,891 and 34,635 units/year in 2014 and 2015, respectively, (p = 0.0015) (2.85%, 3.07% and 3.23% of population at that time, respectively). The voluntary blood donor was increased to 88-93% but replacement donor was decreased to 7-12%. Although the consistency of blood donor recruitment data from 2010 to 2013 were not reported. However, the results in 2015 showed the very closely trend when compared to 2014. Conclusion: The result from improving of blood donor recruitment at Nakhonsawan province between 2014 to 2015 showed that the number of blood donation was more than 30,000 units/year which was more than 3% of the population. The trend of voluntary blood donor was increased with consistency in each month but the number of replacement donor was decreased.