การผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิต Human Monoclonal Anti-P1 ด้วยวิธี Hybridoma Technique

Authors

  • อุดม ติ่งต้อย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สาริกา เมฆฉาย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ปาจรีย์ ดีสิน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • จินตนา ทับรอด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Keywords:

Anti-P1, Human monoclonal antibody, Hybridoma technique

Abstract

บทคัดย่อ

การผลิตน้ำยาชนิด human monoclonal anti-P1 ด้วยวิธี hybridoma technique เพื่อใช้ในการตรวจหาแอนติเจน P1 บนเม็ดเลือดแดง โดยการเชื่อมเซลล์ระหว่าง B-lymphocyte ที่สร้าง anti-P1 กับเซลล์มะเร็งสายพันธุ์ JMS-3 ทำให้ได้เซลล์สายพันธุ์ที่สร้าง anti-P1 (1C9) จากนั้นนำน้ำเลี้ยงเซลล์ที่ได้จากสายพันธุ์ 1C9 ที่สร้าง anti-P1มาทดสอบหาระดับความแรง ความจำเพาะและความคงทน เปรียบเทียบกับ monoclonal anti-P1 (HIRO-59) จากสภากาชาดญี่ปุ่น และ polyclonal anti-P1 จากซีรัมผู้บริจาคโลหิต พบว่าน้ำยา monoclonal anti-P1 (1C9) มีความจำเพาะ 100% ในด้านความแรง monoclonal anti-P1 (1C9) มีไตเตอร์เท่ากับ 64 ซึ่งสูงกว่า monoclonal anti-P1 (HIRO-59) ที่มีไตเตอร์เท่ากับ 32 และสูงกว่า polyclonal anti-P1 จากผู้บริจาคโลหิตที่มีไตเตอร์ เท่ากับ 8 ผลการทดสอบความคงทน monoclonal anti-P1 (1C9) ที่อุณหภูมิ 4oC  สามารถเก็บได้นานอย่างน้อย 12 เดือน และที่ RT (22-24oC) สามารถเก็บได้นาน 8 เดือน โดยไม่เสื่อมคุณภาพ จากคุณสมบัติต่างๆที่ได้ทำการทดสอบ แสดงให้เห็นว่าน้ำยา human monoclonal anti-P1 (1C9) นี้ เหมาะสมที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำยา human monoclonal anti-P1 เพื่อใช้สำหรับการตรวจหาแอนติเจน P1 ในงานธนาคารเลือดต่อไป

Abstract:

The production of human monoclonal anti-P1 by hybridoma technique is for P1 antigen testing on red blood cells. Fusing B-lymphocyte which produced anti-P1 with human myeloma cells (JMS-3) enable the transformed cells to grow. The fusion cells that secreted antibody were selected for monoclone by limiting method. After selected the anti-P1 (1C9) cell line, we tested extensively for potency, specificity and stability to compare with monoclonal anti-P1 (HIRO-59) from Japanese Red Cross Society and polyclonal anti-P1 serum from donated blood. For potency testing, we found that monoclonal anti-P1 (1C9) has 100% specificity in titer 64 which is not only better than monoclonal anti-P1 (HIRO-59) which has a titer of 32 but also polyclonal anti-P1 from serum of donated blood which has a titer of 8. For stability testing, monoclonal anti-P1(1C9) can be stored at 4°C and be kept for at least 12 months and at RT (22-24oC) can be kept for 8 months. In conclusion, human monoclonal anti-P1 (1C9) is capable for producing monoclonal anti-P1 (1C9) which is used for P1 antigen typing.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-02-09

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)