การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการป้องกันการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียแบบลัดขั้นตอนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

Authors

  • Teerapat Seeratanachot
  • Khajohnsilp Pongsawatkul
  • Torpong Sanguansermsri
  • Narutchala Suwannakhon

Keywords:

วิธีลัดขั้นตอนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ, การป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

Abstract

ในปัจจุบันยังคงมีเด็กเกิดใหม่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงแม้ว่าโครงการป้องกันการมีบุตรเป็นโรคธาลัลซีเมียจะได้รับ
การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากปัญหาอันเกิดจากกระบวนการคัดกรองและกำหนดหาคู่สมรสเสี่ยง งานวิจัยนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่าการกำหนดชนิดการกลายพันธุ์ของธาลัสซีเมียโดยวิธีลัดขั้นตอนการตรวจทางห้องปฏิบัติการมีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพของการป้องกันการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ผู้เข้าร่วมโครงการได้แก่หญิงฝากครรภ์และสามีจากคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลประจำจังหวัดพะเยากลุ่มที่หนึ่ง 1,377 รายได้รับการตรวจคัดกรองตามขั้นตอนปกติกลุ่มที่สองจำนวน 1,581 รายถูกส่งไปตรวจโดยวิธีลัดขั้นตอน ที่หน่วยธาลัสซีเมียมหาวิทยาลัยพะเยาโดยตรง ในกลุ่มแรกพบคู่สมรสเสี่ยงฯ 19 คู่พบ fetus เป็นโรค Hb Bart‘s hydrops fetalis 1 ราย และโรค β-thalassemia/Hb E 1 รายกลุ่มที่สองพบมีคู่สมรสเสี่ยงฯ 32 คู่พบ fetus เป็นโรค Hb Bart‘s hydrops fetalis 3 ราย β-thalassemia/Hb E 5 รายและ β-thalassemia major 1 ราย เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาพบว่าวิธีลัดขั้นตอนการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลสัมฤทธิ์ในการป้องกันการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001) วิธีลัดขั้นตอนการตรวจทางห้องปฏิบัติการในการศึกษาครั้งนี้เป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนได้ผลรวดเร็ว สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ให้กับโครงการป้องกันการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียได้เป็นอย่างดี

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-10-02

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)