ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนอินเตอร์ลิวคิน-6 ณ ตำแหน่ง -174 (G/C) กับผลลัพธ์ของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

Authors

  • ปัญญา ถุนนอก ฝ่ายตรวจคัดกรองโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ภัทร จันทาพูน ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วราภรณ์ ยงทอง ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศรัญญา หอมแก่นจันทร์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วัชนันท์ วงศ์เสนา ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

Single nucleotide polymorphism, Cytokine, Hepatitis B virus, Interleukin-6

Abstract

บทคัดย่อ ประเทศไทยมีความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในอัตราสูง ผลจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันทำให้เกิดการทำลายเซลล์ตับที่ติดเชื้อ เป็นสาเหตุให้เกิดตับอักเสบชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับ Interleukin-6 (IL-6) เป็นหนึ่งใน inflammatory cytokines ที่สำคัญโดยจะยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีภายในเซลล์ตับ มีรายงานว่าการเกิด Single Nucleotide Polymorphisms (SNPs) ในส่วนโปรโมเตอร์ของยีน IL-6 ณ ตำแหน่ง -174 (G/C) ทำให้เกิดความแตกต่างของระดับการสร้าง IL-6 ส่งผลต่อผลลัพธ์ของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่แตกต่างกันซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายของยีน IL-6 ณ ตำแหน่ง -174 กับผลลัพธ์ของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วัสดุและวิธีการ ทำการวิเคราะห์ SNPs ของยีน IL-6 ณ ตำแหน่ง -174 ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 259 ราย จำแนกเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดีไม่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 78 ราย กลุ่มตัวอย่างที่หายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและมีภูมิคุ้มกันแล้ว 85 ราย และกลุ่มตัวอย่างที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง 96 ราย ทำการสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างเลือดและทำการตรวจวิเคราะห์ SNPs โดยใช้วิธี Polymerase Chain Reaction-Sequence Specific Primer (PCR-SSP) ผลการวิจัย พบว่ามีความถี่ของจีโนไทป์ GG, GC และ CC ในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดีไม่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร้อยละ 97.44, 2.56 และ 0 ตามลำดับ ในกลุ่มตัวอย่างที่หายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและมีภูมิคุ้มกันแล้วร้อยละ 97.65, 2.35 และ 0 ตามลำดับ และในกลุ่มตัวอย่างที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังร้อยละ 98.96, 1.04 และ 0 ตามลำดับ การกระจายความถี่ของจีโนไทป์ใน 3 กลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.724) สรุป ไม่พบความสัมพันธ์ของความหลากหลายของยีน IL-6 ณ ตำแหน่ง -174 กับผลลัพธ์ของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีจำนวนน้อยเกินไป รวมถึงอาจมีปัจจัยจากความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีนไซโตไคน์อื่นร่วมด้วย ดังนั้นควรมีการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนไซโตไคน์อื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์มากขึ้น

 

Abstract:

Background: Thailand has a high prevalence of Hepatitis B virus (HBV) infection. Immune response to HBV results infected liver cell destruction as acute and chronic hepatitis. It might be a risk for developing cirrhosis and hepatocellular carcinoma (HCC). Interleukin-6 (IL-6) is an important inflammatory cytokine that suppressed HBV replication in liver cells. Previous study demonstrated that the single nucleotide polymorphisms (SNPs) at position -174 (G/C) in the IL-6 promoter affected the different level of IL-6 production that lead to the difference of outcome of HBV infection. This information can be used as a surveillance and groups protection at risk of chronic hepatitis B virus infection. Objective: To determine the association of IL-6 gene polymorphism at posi­tion -174 (G/C) with the outcome of HBV infection. Methods: Two hundred and fifty nine cases of blood donor were analyzed SNPs for position -174 of IL-6 gene, composing of 78 cases without a HBV infection, 85 cases with a recovery from HBV infection, and 96 cases with a chronic HBV infection. DNA was extracted from EDTA blood and analyzed for SNPs using Polymerase Chain Reaction-Sequence Specific Primer (PCR-SSP). Results: The detective rates of GG, GC and CC genotype were 97.44%, 2.56% and 0% in healthy controls; 97.65%, 2.35% and 0% in recovery HBV infection subjects; 98.96%, 1.04% and 0% in chronic HBV infections. The distribution of genotype was not significantly different among 3 groups (p = 0.724). Conclusions: The results showed that the SNPs at position -174 (G/C) in the IL-6 promoter was not associated with the outcome of hepatitis B virus infection. It might be the limitation of sample size. Also, the different of cytokine gene polymorphism could be affected. Therefore, a deeply study of cytokine polymorphism would help to get more understanding.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)