ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะขาดธาตุเหล็กในบุคลากรหญิง ของโรงพยาบาลอุดรธานี

Authors

  • ศรัญญา ศรัญญา พงษ์อุดม กลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลอุดรธานี

Keywords:

Iron deficiency anemia, Prevalence, Hypermenorrhea, Cost reduction

Abstract

ภาวะซีดจากขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาที่พบบ่อยและมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ตรวจพบว่าซีดร่วมกับเม็ดเลือดแดงขนาดเล็ก (กลุ่ม
เสี่ยง) จากการตรวจสุขภาพประจำปี วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กของบุคลากรกลุ่ม
เสี่ยงในโรงพยาบาลอุดรธานี วัสดุและวิธีการ นำบุคลากรหญิง 135 คนที่ตรวจสุขภาพพบมีฮีโมโกลบิน (Hb) < 12 กรัม/ดล. และ
MCV < 80 fl มาตรวจเลือด CBC, Hb typing และ ferritin พร้อมทั้งให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับปริมาณเลือดประจำเดือนและ
จำนวนผ้าอนามัยที่ใช้ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA12 คำนวณปัจจัยเสี่ยงด้วย logistic regression ผลการวิจัย พบ
ความชุกของภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงเท่ากับร้อยละ 60.7 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การเสียเลือดประจำเดือนมาก โดยถือเอาการใช้ผ้าอนามัยเฉลี่ย ³ 5 ผืนต่อวัน (ใช่ = 1 และไม่ใช่ = 0)
และการมีเลือดชุ่มเต็มผืน (ใช่ = 1 และไม่ใช่ = 0) จากการศึกษาในบุคลากรหญิงจำนวน 103 คนที่ตอบแบบสอบถามครบถ้วน ผู้ที่
ได้ 2 และ 1 คะแนนจะมีโอกาสเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กเป็น 21.4 และ 3.2 เท่า (95%CI: 4.89 - 93.37, p < 0.0001 และ 95%CI:
0.98 - 10.66, p = 0.054) ตามลำดับ การเสริมธาตุเหล็กในบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโดยไม่ตรวจ ferritin สามารถลดค่าใช้จ่ายได้เกือบ
40,000 บาท สรุป พบความชุกของภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กสูงในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง ปัจจัยที่มีความสำคัญทางสถิติคือ การเสีย
เลือดประจำเดือนมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)