การศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยหลอดเลือดดำอุดตันเปรียบเทียบระหว่าง

Authors

  • อรรถกร วุฒิมานพ สาขาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พลภัทร โรจน์นครินทร์ สาขาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน, มะเร็ง, อายุ, ภาวะซีด, เอสโตรเจน, ความอ้วน, Venous thromboembolism, Cancer, Age, Anemia, Body mass index, Estrogen

Abstract

บทคัดย่อ  

อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดดำอุดตันเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยไทย โดยผู้ป่วยจำนวนมากพบว่าสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง จากการศึกษาก่อนหน้านี้ในต่างประเทศพบว่ามีความแตกต่างของลักษณะทางคลินิกบางอย่างของกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดดำอุดตันที่มี และไม่มีมะเร็งร่วม วัตถุประสงค์ : เพื่อหาลักษณะทางคลินิกที่แตกต่างกันของผู้ป่วยสองกลุ่มนี้ในคนไทย ซึ่งลักษณะเหล่านี้อาจช่วยชี้บ่งว่าผู้ป่วยหลอดเลือดดำอุดตันรายใดควรตรวจหามะเร็งที่เป็นร่วมด้วย วิธีการ : ผู้วิจัยได้ค้นเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหลอดเลือดดำขาอุดตัน (DVT) และ/หรือ หลอดเลือดดำที่ปอดอุดตัน (PE) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2546-2550 ตัวแปรที่ศึกษา คือ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย (body mass index) โรคประจำตัว ประวัติสูบบุหรี่ performance status ประวัติการใช้เอสโตรเจน ตำแหน่งที่เกิดหลอดเลือดดำอุดตัน การตรวจทางห้องปฎิบัติการพื้นฐาน ยาที่ใช้รักษา และภาวะแทรกซ้อนที่เกิด ข้อมูลที่เก็บได้ถูกเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีและไม่มีมะเร็ง ผลการศึกษา : รวบรวมผู้ป่วยได้ทั้งสิ้น 167 คน ซึ่งพบว่า 54 คน(ร้อยละ 32) มีมะเร็งร่วม ในกลุ่มที่มีมะเร็งร่วมพบว่า 49 คน เป็นหลอดเลือดดำขาอุดตัน 2 คนเป็นหลอดเลือดดำที่ปอดอุดตัน 3 คนพบทั้งสองอย่างร่วมกัน ส่วนในกลุ่มที่ไม่มีมะเร็งร่วม พบว่า 94 คนเป็นหลอดเลือดดำขาอุดตัน 12 คนเป็นหลอดเลือดดำปอดอุดตัน7 คนเป็นทั้งสองอย่าง อายุเฉลี่ยในกลุ่มที่มีมะเร็งร่วมพบว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีมะเร็งร่วม (58.2±12 vs. 51.7±19.5 ปี, p =0.03) และพบว่าเป็นเพศหญิงมากกว่าชายทั้งสองกลุ่ม (ร้อยละ 72.6 ในกลุ่มที่ไม่มีมะเร็ง และร้อยละ 70.4 ในกลุ่มที่มีมะเร็ง) พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงของ atherosclerosis และ ประวัติการสูบบุหรี่ในสองกลุ่ม อย่างไรก็ตามพบว่า ประวัติการได้รับยาคุมกำเนิดพบมากกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีมะเร็งร่วม (23% vs. 0%, p=0.013) นอกจากนี้พบว่า การที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 25 kg/m2 พบมากในกลุ่มผู้ป่วยที่มีมะเร็งร่วม (70.1% vs. 40.9%, p=0.02) และพบว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งมีระดับ hemoglobin ที่ต่ำกว่า (Hb 10.0±1.83 vs. 14.0±12.4 g/dL, p=0.01) สรุป : ผู้ป่วยหลอดเลือดดำอุดตัน ที่มีมะเร็งร่วม และ ไม่มีมะเร็ง พบว่ามีลักษณะบางอย่างที่ต่างกัน ได้แก่ อายุที่มาก และภาวะซีดอาจบ่งว่ามีมะเร็งร่วม ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน และมีประวัติการใช้เอสโตรเจน จะพบบ่อยกว่าในผู้ป่วยที่ไม่มีมะเร็งร่วม

Key Words :  ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ; มะเร็ง ; อายุ ; ภาวะซีด ; เอสโตรเจน ; ความอ้วน

 

Abstract

The incidence of venous thromboembolism (VTE) is increasing among Thais. Many of them are associated with cancer. Some studies suggested that there are distinct characteristics of malignancy-related compared with non-malignancy-related groups. Objective: The aim of the study is to determine the differences between the 2 groups. These clinical clues may be helpful to identify VTE patients requiring extensive investigations for underlying cancer. Methods: Medical records of objectively-confirmed deep vein thrombosis (DVT) and/or pulmonary embolism (PE) patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital from 2003 to 2007 were reviewed. The variables were age, sex, body mass index (BMI), underlying diseases, history of smoking, previous hospitalization, performance status, estrogen uses, sites of VTE, routine laboratories, treatments and their complications. Data were compared between VTE cases with and without malignancies. Results: There were 167 patients, 54 (32%) of whom were malignancy-related. In the malignant group, 49 developed DVT, 2 PE and 3 DVT with PE. On the other hand, 94 DVT, 12 PE and 7 DVT with PE were found in non-malignant patients. The mean age was higher in malignancy group, 58.2±12.0 vs. 51.7±19.5 yrs (P=0.03). Female was more common than male in both groups (72.6% vs. 70.4%, P=0.77). The presence of atherosclerotic risk factors and history of smoking were not significantly different. However, contraceptive pill use was more common in the non-malignant group (25% vs. 0%, P = 0.013). In addition, the BMI below 25 kg/m2 was significantly associated with cancer (70.1% vs. 40.9 %, p = 0.02). Furthermore, mean hemoglobin was lower in the malignancy group (Hb 10.0±1.83 vs. 14.0±12.4 g/dL, p = 0 .01). Conclusion: Malignancy- and non-malignancy- related VTE has different clinical characteristics. Older age and anemia may suggest cancer, whereas obesity and estrogen use are more common in the non-malignant group.

Key Words :  Venous thromboembolism ; Cancer ; Age ; Anemia ; Body mass index  ; Estrogen

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-12-04

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)