ผลของการดื่มน้ำต่อความดันโลหิตของผู้ประสงค์บริจาคโลหิต ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ

Authors

  • วรวัตร ตั้งพูนผลวิวัฒน์ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย
  • ชื่นฤทัย ยี่เขียน ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

Keywords:

Water drinking, Blood pressure, การดื่มน้ำ, ความดันโลหิต

Abstract

บทคัดย่อ

ในปีงบประมาณ 2549 พบว่า มีผู้ประสงค์บริจาคโลหิตที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ เนื่องจากตรวจพบความดันโลหิตซีสโตลิคน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท คิดเป็นร้อยละ 18.07 ซึ่งเป็นภาวะที่อาจพบได้ในคนสุขภาพดี ทำให้ผู้ประสงค์บริจาคโลหิตกลุ่มนี้เสียความตั้งใจที่จะช่วยเพื่อนมนุษย์ หน่วยรับบริจาคโลหิตขาดโอกาสในการเพิ่มจำนวนผู้บริจาคโลหิตและการทำให้ผู้บริจาคโลหิตมีการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความดันโลหิตของผู้ประสงค์บริจาคโลหิตที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำก่อนและหลังการดื่มน้ำโดยความดันโลหิตที่ศึกษาประกอบด้วย ความดันซีสโตลิก และความดันไดแอสโตลิก วัสดุและวิธีการ : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ทำการศึกษา ณ หน่วยรับบริจาคโลหิต โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ระยะเวลาการศึกษาเป็นเวลา 24 เดือน กลุ่มตัวอย่างและขนาดตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ที่มีภาวะความดันซีสโตลิก น้อยกว่า 100 มิลลิเมตรปรอททุกราย จำนวน 212 คน ตัวแปรหลัก คือการดื่มน้ำปริมาตร 400 มิลลิลิตร ที่นั่งพัก 20 นาที ในห้องพักผู้บริจาคโลหิตที่มีเครื่องปรับอากาศให้มีอุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส ตัวแปรตาม เป็นความดันโลหิตมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท วัดโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตอิเลคทรอนิกส์เครื่องเดียวตลอดการวิจัย ด้วยวิธีการวัดความดันโลหิตแบบเดียวกันทุกครั้ง เครื่องวัดความดันโลหิตอิเลคทรอนิกส์ทดสอบความเที่ยง มีค่าความเชื่อมั่นที่ .95 ผู้วิจัยหลักเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองทุกขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่งเบนมาตรฐาน และ pair t-test ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 212 คน มีอายุเฉลี่ย 30.88±7.58 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 56.09±8.51 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 83.96 เป็นผู้บริจาคโลหิตที่เคยบริจาคโลหิตมาก่อน คิดเป็นร้อยละ 76.89 ผลการวิจัยพบว่าการดื่มน้ำทำให้ความดันโลหิตของผู้บริจาคโลหิตที่มีภาวะความดันโลหิตน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรปรอทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความดันโลหิตซีสโตลิกเพิ่มขึ้นจาก 93.94 เป็น 104.51 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตไดแอสโตลิกเพิ่มขึ้นจาก 64.51 เป็น 69.11 มิลลิเมตรปรอท สรุป : การดื่มน้ำทำให้ผู้บริจาคโลหิตที่มีภาวะความดันโลหิตน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท มีความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

Key Words : การดื่มน้ำ , ความดันโลหิต

 

Abstract

In fiscal year 2006, More than eighteen percent of all intentionally blood donors cannot donate their blood due to they had systolic blood pressure lower than 100 mmHg although the low blood pressure may show in healthy person. These made some intentionally blood donors lose of willing to lend a hand for human while the blood donation service loses the opportunity to increase the number of blood donors and the continuity of blood donations. Objective: To compare the blood pressure of the intentionally blood donors between before and after of water drinking. The blood pressure consists of systolic blood pressure, diastolic blood pressure and mean blood pressure. Material and method: A quasi experiment research was conducted at the blood donation service of Queen Savang Vadhana Memorial Hospital in July 2006-June 2008, the 24 months period. Samples were the purposive sampling of all 212 intentionally blood donors who had systolic blood pressure lower than 100 mmHg. The dependent variable was 400 milliliters of water drinking with 20 minutes seat resting in the 25-27 degree Celsius of the air condition room. The independent variable was the blood pressure which measure in millimeter of mercury from one electronic sphygmomanometer by the same method. The reliability testing of electronic sphygmomanometer was .95. The main researcher collected data himself all steps. The statistic analyses were percent, mean, standard deviation and paired t test. Results: Two hundred and twelve intentionally blood donors who had systolic blood pressure lower than 100 mmHg had mean age 30.88±7.58 years, mean bodyweight 56.09±8.51 kilograms, mostly female (83.96%) and had history of blood donation (76.89%). The findings showed that after 400 milliliters of water drinking had increased blood pressure statistically significant difference (p<.01). Mean systolic blood pressure and diastolic blood pressure increased from 93.94 to 104.51 mmHg and 64.51 to 69.11 mmHg respectively. Conclusion: Water drinking can increase blood pressure especially in the intentionally blood donors who have systolic blood pressure lower than 100 mmHg.

Key Words : Water drinking , Blood pressure

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)