การใช้ยาของผู้บริจาคโลหิต Medication by Blood Donors

Authors

  • พนาวรรณ คุณติสุข ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ตรึงตรา ลีลารังสรรค์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Keywords:

Medicines, Blood donors

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: จากสถิติการรับบริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – 2550 พบว่าการใช้ยาในผู้บริจาคโลหิตเป็นสาเหตุสำคัญลำดับที่ 3 ของการปฏิเสธการรับบริจาคโลหิตทั้งหมด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ผู้บริจาคโลหิตที่ใช้ยาถูกปฏิเสธการรับบริจาคโลหิต โดยพิจารณาจากชนิดของยาที่ผู้บริจาคโลหิตใช้ รวมถึงเปรียบเทียบอัตราการปฏิเสธการรับบริจาคโลหิตเนื่องจากการใช้ยาของผู้บริจาคโลหิตโดยคัดกรองตามหลักเกณฑ์ในคู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ พ.ศ. 2548 กับหลักเกณฑ์ในคู่มือฯ พ.ศ. 2552

วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: รวบรวมข้อมูลผู้บริจาคโลหิตที่ใช้ยาทั้งที่สามารถบริจาคโลหิตได้และไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ในปี พ.ศ. 2551 จำนวน 1,084 คน โดยผู้บริจาคโลหิตทุกคนต้องผ่านการตอบแบบสอบถามการคัดกรองผู้บริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ยาที่จัดทำขึ้น รวบรวม วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลของการคัดเลือกโดยใช้หลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2548 กับหลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2552 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะทำงานทบทวนและจัดทำคู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ผลการศึกษาและอภิปราย: พบว่าชนิดของยาส่วนใหญ่ที่ผู้บริจาคโลหิตใช้เป็นยาลดความดัน ร้อยละ 25.28 ยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 19.56 วิตามิน ร้อยละ 10.70 และยากลุ่มอื่นๆ ร้อยละ 44.46 ผู้ที่ถูกปฏิเสธการรับบริจาคโลหิตจำนวน 373 คน เนื่องจากการคัดกรองโดยใช้หลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2548 พบว่า ร้อยละ 72.32 ใช้ยาที่ระบุว่าไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ ร้อยละ 13.98 ไม่ทราบชื่อยาที่ตนใช้อยู่ ร้อยละ 7.53 เกิดจากการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ฯ ร้อยละ 4.03 ใช้ยาที่ไม่มีระบุในหลักเกณฑ์ฯ เช่น สมุนไพร วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น และอีกร้อยละ 2.14 มี deferral time ก่อนการบริจาคน้อยกว่าที่กำหนด จะเห็นได้ว่าศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติต้องสูญเสียผู้บริจาคโลหิตด้วยสาเหตุที่ไม่เหมาะสมมากถึงร้อยละ 27.68 หรือประมาณ 2,716 คนต่อปี คิดเป็นส่วนประกอบโลหิตที่ต้องสูญเสียไปมากถึง 10,864 ยูนิต ต่อปี (คำนวณจากฐานข้อมูลผู้บริจาคโลหิต ปี พ.ศ. 2550) เมื่อนำข้อมูลการใช้ยาในผู้บริจาคโลหิตที่รวบรวมได้มาคัดกรองโดยใช้หลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2552 พบว่าสามารถรับผู้บริจาคโลหิตที่ใช้ยาเพิ่มขึ้นได้อีก 128 คน (ร้อยละ 37.10 ของผู้บริจาคโลหิตที่ถูกปฏิเสธเนื่องจากการใช้ยา) หรือ 3,641 คนต่อปี คิดเป็นส่วนประกอบโลหิตที่เพิ่มขึ้นถึง 14,561 ยูนิต ต่อปี (คำนวณจากฐานข้อมูลผู้บริจาคโลหิต ปี พ.ศ. 2550) ทั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการคัดกรองโดยพิจารณาจากภาวะความเจ็บป่วยของผู้บริจาคโลหิตที่ใช้ยา เช่น พิจารณาภาวะการติดเชื้อ อาการไข้ เป็นต้น (ร้อยละ 39.84) และการลด deferral time ให้สั้นลง (ร้อยละ 16.41) ตามลำดับ

สรุป: การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โดยใช้หลักเกณฑ์คู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต พ.ศ. 2552 ซึ่งเน้นการพิจารณาจากภาวะความเจ็บป่วยของผู้บริจาคโลหิตที่ใช้ยา และการลด deferral time ให้สั้นลง จะสามารถเพิ่มปริมาณผู้บริจาคโลหิตได้

Key Words : Medicines , Blood donors

 

Abstract

Background and Objective: It has been revealed from statistic of the National Blood Centre collected since 2004-2007 that misusage of medication in the blood donor ranging to 3rd of donated deferral. The objective of this study is to analyze the cause of differing of blood donation considering from medicinal substance used comparing to the criteria indicated in the National Blood Centre’s Blood Donor’s Section and Screening Manual 2005 incorporating the Manual same issued on 2009.

Materials, Equipment and Method: From blood donors’ database who is qualified and disqualified to make donation in 2008 at 1,084 persons by which all of them were enquired by questionnaires with regard to qualification and medication usage prepared by the National Blood Centre, the information obtained will be complied, analyzed and compared to criteria set out in Manual made by the Blood Donor Selection Committee of the National Blood Centre, the Thai Red Cross Society on 2005 and 2009.

Results and Discussion: The analysis revealed that medicines used by the donor that affected to the blood qualification can be divided as follows: 25.28% are Antihypertensives

19.56% are Antibiotics

10.70% are Vitamins

44.46% are others.

From Selection Criteria of the Thai Red Cross Society 2005, it is found that:

72.32% were using medicines that are prohibited for blood acceptance

13.98% were unable to provide names of the medicines used

7.53% were incorrected selection

4.03% were using medicines that has not been listed in the Selection

Criteria, for example, traditional medicines, Influenza vaccines,

etc.

2.14% carried dererral time (period of dosage prior to making of blood

donation) less than the time limited

It can be seen from the above results that percentage of disqualifying blood donors lost to that the Thai Red Cross Society is equaling to 27.68% per annual or 2,716 donors per year or at 10,864 units of blood component annually (calculated from Donors Database2007). When bringing medication data from blood donors analyzed pursuant to Selection Criteria 2009 it is found that more donors can be accepted at 128 persons (37.10% of all donors are rejected due to mis-medication) or equals to 3,641 donors annually which is equivalent to 14,561 units of blood component per year (calculated from Donors Database2007). Whereas donors’ illness will be taken into consideration such as infectious, flu, etc. (equals to 39.84%) and shorten of the deferral time (16.41%) respectively when making the screening.

Conclusion: From the analysis by the Thai Red Cross Society using Selection Criteria 2009 which emphasize on illness of the donor, it can be concluded that usage of the right medicine or shorter deferral time may be able to increase numbers of donor.

Key Words : Medicines, Blood donors

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)