Multiplex ARMS-PCR Analysis for Nineteen β-Thalassemia Mutations

Authors

  • Anchalee Thedsawad Department of Medicine, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital
  • Sumalee Jindadamrongwech Department of Pathology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Suporn Chuncharunee Department of Medicine, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
  • Punnee Butthep Department of Pathology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Keywords:

ธาลัสซีเมีย, มัลติเพล็กซ์อาร์มสพีซีอาร์, มิวเตชั่น, ค่าการตรวจทางโลหิตวิทยา, เครื่องวิเคราะห์ปริมาณฮีโมโกลบินอัตโนมัติ HPLCThalassemia, Multiplex ARMS-PCR (MARMS-PCR), Mutation, Hematological parameters, HPLC

Abstract

บทคัดย่อ

เบต้าธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีชนิดของความผิดปกติหลากหลายมาก ในไทยพบความถี่ของเบต้าธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 3-9 การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการตรวจวินิจฉัยเบต้าธาลัสซีเมีย 19 ชนิด ด้วยวิธีมัลติเพล็กซ์อาร์มสพีซีอาร์ โดยแบ่งเป็น 4 ชุดปฏิกิริยา จากตัวอย่างทั้งสิ้น 250 ตัวอย่าง พบว่าเป็นพาหะของเบต้าธาลัสซีเมีย 178 ตัวอย่าง เป็นโฮโมซัยกัสเบต้าธาลัสซีเมีย 2 ตัวอย่าง และเป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมียร่วมกับฮีโมโกลบินอี 70 ตัวอย่าง ทั้งนี้จากชุดตรวจสำหรับมิวเตชั่น 19 ชนิด ตรวจพบได้ 14 ชนิด ซึ่งร้อยละ 83 เป็นชนิดที่พบบ่อย 5 อันดับแรกในคนไทย คือ codon 41/42 (-TTCT), codon 17 (A>T), nt-28 (A>G), IVS II-654 (C>T) และ IVS I-5 (G>C) การพบอัลฟ่าธาลัสซีเมียในรายที่เป็นพาหะของเบต้าธาลัสซีเมีย จะมีความสมดุลระหว่างอัลฟ่าและเบต้าโกลบินกว่า โดยมีค่าฮีโมโกลบิน MCV และ MCH สูงขึ้น ขณะที่การพบอัลฟ่าธาลัสซีเมียชนิดยีนแหว่งขนาด 3.7 กิโลเบสในรายที่เป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมียร่วมกับฮีโมโกลบินอี มีค่า MCV และ MCH ลดลง ซึ่งคาดว่าน่าจะสัมพันธ์กับค่าฮีโมโกลบินเอฟที่ลดลงและค่าฮีโมโกลบินอีที่สูงขึ้น

Key Words : ธาลัสซีเมีย, มัลติเพล็กซ์อาร์มสพีซีอาร์, มิวเตชั่น, ค่าการตรวจทางโลหิตวิทยา, เครื่องวิเคราะห์ปริมาณฮีโมโกลบินอัตโนมัติ HPLC

Abstract

β-Thalassemia is a heterogeneous group of inherited hematological disorders. In Thailand, gene frequency of β-thalassemia varies between 3-9%. We have designed 4 sets of primers to use in multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (MARMS-PCR) to detect 19 β-thalassemia mutations in 250 β-thalassemia samples including 178 heterozygous β-thalassemia, 2 homozygous β-thalassemia, and 70 β-thalassemia/Hb E. Fourteen different mutations were identified, of which the five most common (codon 41/42 (-TTCT), codon 17 (A>T), nt-28 (A>G), IVS II-654 (C>T) and IVS I-5 (G>C)) accounted for 83%. In heterozygous β-thalassemia, coexistence of α-thalassemia, thereby producing a more balanced α- to β-globin synthesis ratio, raised Hb concentration as well as MCV and MCH. On the other hand, a decrease in MCV and MCH in β0-thalassemia/HbE with coinheritance of 3.7-kb deletion α+-thalassemia was presumed to be related to a decrease in Hb F and an increase in Hb E levels.

Key Words : Thalassemia, Multiplex ARMS-PCR (MARMS-PCR), Mutation, Hematological parameters, HPLC

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)