แอนติบอดีของหมู่เลือดชนิดต่างๆ ในผู้ป่วยที่ส่งตรวจ ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ

Authors

  • ภาวิณี คุปตวินทุ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • มรกต เอมทิพย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ดวงพร สังข์นุ่น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ภูรยา โอวาทกา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • วิมล มานะกุล ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สุดาวรรณ ลิ้มธรรมาภรณ์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • จินตนา ทับรอด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Keywords:

Unexpected antibody, Anti-P P1 Pk (Tja), Anti-Jk3, Para-Bombay

Abstract

บทคัดย่อ

ได้ทำการศึกษาชนิดของแอนติบอดีต่อหมู่เลือดในผู้ป่วยที่หาเลือดเข้ากันได้ยากที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่างๆ ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2548- 30 กันยายน 2549 จำนวน 2,821 ราย ทำการตรวจกรองและตรวจหาชนิดของแอนติบอดี (antibody screening & identification) ด้วยวิธีหลอดทดลอง (standard tube test) gel test และ enzyme technique โดยใช้เซลล์มาตรฐาน O1, O2 (screening cells) และ Panel cells ซึ่งผลิตโดยศูนย์บริการโลหิตฯ พบว่ามีซีรัมที่ให้ผลบวกกับการตรวจกรอง 2,342 ราย (83.0%) สามารถบอกชนิดของแอนติบอดีได้ 1,766 ราย (75.4%) โดยพบแอนติบอดีระบบ Rh มากที่สุดเป็นจำนวน 1,029 ราย (42.2%) แอนติบอดีระบบ MNS พบมากรองลงมา 778 ราย (31.9%) แอนติบอดีระบบ Kidd 256 ราย (10.5%) แอนติบอดีระบบ Lewis 145 ราย (5.9%) anti-P1 72 ราย (3.0%) แอนติบอดีระบบ Duffy 66 ราย (2.7%) anti-I 58 ราย (2.4%) และ anti-Diego 30 ราย (1.2%) นอกจากนี้ยังพบแอนติบอดีต่อหมู่เลือดหายากในคนไทย (rare blood group) 3 ชนิดคือ anti-Jk 3 2 ราย anti-P P1 Pk[Tj(a)] 2 ราย และ anti-H ในหมู่เลือด Para-Bombay 4 ราย การทราบชนิดของแอนติบอดีมีประโยชน์ในการจัดเตรียมเลือดให้ผู้ป่วยในสองกรณีได้แก่ ผู้ป่วยที่มีแอนติบอดีที่พบได้บ่อยๆ และเพื่อเป็นการป้องกันการสร้างแอนติบอดีจึงควรจัดเตรียมเลือดชนิด E- c- และ Mi (a-) ให้ผู้ป่วยที่ต้องรับเลือดเป็นประจำในระยะยาว และศูนย์บริการโลหิตควรให้บริการหมู่เลือดหายากแช่แข็ง (frozen rare blood type) แก่โรงพยาบาลต่างๆ

Key Words : Unexpected antibody, Anti-P P1 Pk (Tja), Anti-Jk3, Para-Bombay

 

Abstract

The prevalence of unexpected antibody in 2821 patients, blood samples from various hospitals requiring blood transfusion sent to National Blood Center (NBC) during 1st October 2005 to 30 th September 2006 was studied. The sera were screened and identified for unexpected antibody by Standard tube test, gel test, and enzyme technique. The screening cells and panel cells were prepared by NBC. The result demonstrated that 2,342 samples (83.0%) were positive for antibody screening test. Only 1,766 samples (75.4%) could be identified. The most common unexpected antibodies were antibody in Rh system which found in 1,029 samples (42.2%). The prevalence of antibody in MNS system was found in 778 samples (31.9%). Antibody in Kidd system were detected 256 samples (10.5%) while antibody in Lewis system were found in 145 samples (5.9%). The result also demonstrated 3.0% (72 samples) of anti-P1, 2.7% (66 samples) antibodies in Duffy system, 2.4% (58 samples) anti-I and 1.2% (30 samples) anti-Diego. Further more very rare blood group antibodies was also found, including 2 anti-Jk3, 2 anti-PP1Pk [Tj(a)] and Para-bombay 4 samples. These data will be useful in providing phenotyped blood with multiple antibodies. We would recommended blood bank should E, c and Mia negative blood for patient need longterm transfusion therapy. The provision of frozen rare blood type may be assisted by NBC.

Key Words : Unexpected antibody, Anti-P P1 Pk (Tja), Anti-Jk3, Para-Bombay

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)