การคัดกรองโลหิตบริจาคด้วยวิธี NAT เพื่อตรวจหาเชื้อ HIV-1, HCV และ HBV โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Authors

  • ทัศนีย์ สกุลดำรงค์พานิช ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สินีนาฏ อุทา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • พัชรากร กรำกระโทก ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • รัชนี เขื่อนแก้ว ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • พรทิพย์ รัตจักร์ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ศิริลักษณ์ เพียกขุนทด ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • กนกอร พิมเสน ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สุพัตรา มิถุนดี ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สร้อยสอางค์ พิกุลสด ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Keywords:

การตรวจกรดนิวคลิอิค, โลหิตบริจาค, เอชไอวี, ไวรัสตับอักเสบซี, วรัสตับอักเสบบี, NAT, Blood donation, HIV, HCV, HBV

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ตรวจกรองโลหิตบริจาคด้วยวิธี nucleic acid amplification test (NAT) แบบรวม 6 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหาเชื้อ HIV-1, HCV และ HBV มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ต่อมาได้ขยายการตรวจ NAT ในภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 6 แห่ง สำหรับให้บริการแก่โรงพยาบาลในภูมิภาค วัตถุประสงค์ : ศึกษาอัตราการตรวจพบเชื้อ HIV-1, HCV และ HBV ที่ทดสอบด้วยวิธี NAT (NAT yield rate) และนำมาประเมินประโยชน์ของการคัดกรองโลหิตบริจาคด้วยวิธี NAT ในการเพิ่มความปลอดภัยของโลหิตและส่วนประกอบโลหิตที่จะนำไปให้ผู้ป่วย แผนการศึกษาและวิธีการ : ทำการทดสอบ NAT ในตัวอย่างโลหิตบริจาคที่เจาะเก็บในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในส่วนภูมิภาค ระยะเวลา 3 ปี ระหว่าง ตุลาตม พ.ศ. 2551 ถึง กันยายน พ.ศ. 2554 โดยเป็นตัวอย่างที่ผลซีโรโลยี เป็นลบ และทำการทดสอบ NAT ด้วยวิธีแบบรวม 6 ตัวอย่าง (minipool 6) ผลการทดสอบ : ตัวอย่างโลหิตบริจาคที่ผลซีโรโลยีเป็นลบ จำนวนทั้งสิ้น 2,500,056 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 45 ของโลหิตบริจาคทั้งประเทศ) การทดสอบด้วยวิธี NAT ตรวจพบ HIV RNA จำนวน 27 ราย หรือ HIV NAT yield rate 1 : 92,595 ตรวจพบ HCV RNA จำนวน 9 ราย หรือ HCV NAT yield rate 1 : 277,784 และ ตรวจพบ HBV จำนวน 1,038 ราย หรือ HBV NAT yield rate 1 : 2,409 อัตราการตรวจพบ HBV ด้วย NAT ของโลหิตบริจาคในภูมิภาค สูงกว่าโลหิตบริจาคในกรุงเทพฯ ประมาณ 1 ถึง 3 เท่า โดยตรวจพบ HBV สูงสุดในภาคเหนือ ทั้งอัตราการตรวจพบ HCV ด้วย NAT ของโลหิตบริจาคในภูมิภาค ก็สูงกว่าโลหิตบริจาคในกรุงเทพฯ ประมาณ 8 ถึง 9 เท่า โดยตรวจพบ HCV สูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสอดคล้องกับความชุกของเชื้อ HBV และ HCV ในภูมิภาค สรุป : ผลการศึกษายืนยันว่าการใช้เทคนิค NAT ร่วมกับการทดสอบด้วยวิธีซีโรโลยี ในการคัดกรองโลหิตบริจาคในงานบริการโลหิตของประเทศไทย มีความจำเป็นและมีประโยชน์ เป็นการเพิ่มความปลอดภัยของโลหิตและส่วนประกอบโลหิตที่จะนำไปให้ผู้ป่วย ลดความเสี่ยงของผู้ป่วยต่อกา รติดเชื้อ HIV, HCV และ HBV

Key Words : การตรวจกรดนิวคลิอิค, โลหิตบริจาค, เอชไอวี, ไวรัสตับอักเสบซี, วรัสตับอักเสบบี

Abstract

Background : Since 2008, NAT screening of blood donations using minipool of 6 for the detection of HIV-1, HCV and HBV has started at the National Blood Centre, the Thai Red Cross Society (NBC,TRCS). Later on, it was extended to 6 Regional Blood Centres (RBCs) in order to provide services for the provincial hospitals. Objective :To detect the HIV, HCV and HBV NAT yield rate and to assess the impacts of NAT in improving the safety of blood supply. Study Design and Methods : NAT screening of sero-negative blood donations were carried out from October 2008 to September 2011 at NBC and 6 RBCs. The data were assessed. Results : A total of 2,500,054 sero-negative blood donations were screened by NAT. These donations covered approximately 45 percent of total blood collections in the country. During the 3 years period, 27 HIV NAT yield cases (yield rate 1 : 92,595), 9 HCV NAT yield cases (1 : 277,784) and 1.038 HBV NAT yield cases (1 : 2,409) were detected. The NAT yield rate for HBV and HCV in the provincial hospitals were higher than those in NBC, Bangkok i.e. one to three folds for HBV and eight to nine folds for HCV. The highest HBV NAT yield rate was found in the North where as highest HCV NAT yield rate found in the Northeast region. These results reflect the high prevalence of HBV and HCV infections in donor population. Conclusions : The results show the benefits of NAT screening in Thai blood donations. NAT screening in addition to serology testing significantly reduce the transfusion-transmitted risk of serological window periods for HIV, HCV and HBV infections and improve the safety of blood supply.

Key Words : NAT, Blood donation, HIV, HCV, HBV

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)