อุบัติการณ์ของ Partial D Categories ในผู้บริจาคโลหิตไทย
Keywords:
Weak D, Partial D categories, D epitopes, ชุดน้ำยา D-ScreenAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของ partial D categories ต่างๆ ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตที่ตรวจพบว่าเป็น weak-D ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วัสดุและวิธีการ : ทดสอบตัวอย่างโลหิตบริจาคที่เป็น weak D (Du ) จำนวน 81 ราย โดยให้ทำปฏิกิริยากับน้ำยาโมโนโคลนัล anti-D (IgM +IgG) จำนวน 6 บริษัท และนำมาตรวจแยกชนิด partial D categories ด้วยชุดน้ำยา D-Screen (Diagast Laboratoires, France) แปลผลการทดสอบโดยเทียบกับตาราง panel ของชุดน้ำยา ผลการศึกษา :โลหิตบริจาค weak D ทั้ง 81 ราย ให้ผลบวกกับน้ำยาโมโนโคลนัล anti-D (IgM+IgG) ของทุกบริษัท แต่มีความแรงของปฏิกิริยาแตกต่างกัน ทั้งการอ่านผลที่อุณหภูมิห้อง 37Oซ และ antiglobulin test ชุดน้ำยา D-Screen สามารถตรวจพบว่าเป็น partial D จำนวน 62 ราย (ร้อยละ 76.54) โดยแยกเป็น category ต่างๆดังนี้ DII 1 ราย (ร้อยละ1.23) DIII 21 ราย (ร้อยละ 25.93) DVI 30 ราย (ร้อยละ 37.04) DVII 5 ราย (ร้อยละ 6.17) และ DFR 5 ราย (ร้อยละ 6.17) แต่อีก19 ราย (ร้อยละ 23.46%) ผลการทดสอบ ไม่ตรงกับ partial D categories ใดๆ จึงแปลผลเป็น weak D วิจารณ์/สรุป : ในจำนวนผู้บริจาคที่เป็น weak D 81 ราย ชุดตรวจ D-Screen สามารถใช้ตรวจแยก partial D categories ต่างๆได้ โดยการศึกษาครั้งนี้พบว่า DVI เป็น D category ที่ตรวจพบมากที่สุดและ DIII ให้ผลบวกกับน้ำยา anti-D ทุกบริษัทจึงไม่สามารถแยกจาก D บวกได้เช่นเดียวกับ weak D ที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็น partial D category ชนิดใด จึงควรทำการตรวจในระดับโมเลกุล ต่อไป
Key Words : Weak D, Partial D categories, D epitopes, ชุดน้ำยา D-Screen
Abstract
Objective : To study the incidence of partial D categories in weak D blood donors of The National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Material and Method : Eighty one samples of weak D (Du) cells were tested against 6 different monoclonal anti-D (IgM+IgG) reagents to demonstrate the efficacy of anti-D by testing against a panel of monoclonal anti-D (D-Screen) for identification of partial D categories. Results : All of the 81 weak D samples gave positive reaction against six monoclonal anti-D but gave different grade of agglutination results at both room temperature and antiglobulin tests. When tested with D-Screen kit, 62 samples could be classified into the various D categories : 1 DII (1.23%), 21 DIII (25.93%), 30 DVI (37.04%), 5 DVII (6.17%), 5 DFR (6.17%) and 19 samples (23.46%) exhibited a reaction profile which did not match to any partial D patterns, were classified as weak D. Discussion/Conclusion : The D-Screen kit was sufficient to identify the partial D category. The DVI cell was the most common category found and DIII gave positive results with all anti-D tested. Therefore, it is unable to distinguish from normal D positive cells as well as some weak D cells. The molecular biology technique should be used to identify these partial D and weak D cells.
Key Words : Weak D, Partial D categories, D epitopesl D-Screen kit for identification of partial D cells