เปรียบเทียบการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ ระหว่างการปลูกถ่ายไขกระดูกกับการให้ยาเคมีบำบัดในขนาดสูง

Authors

  • ธนกฤต สมประเสริฐกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • จันทราภา ศรีสวัสดิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • วิชัย ประยูรวิวัฒน์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • อภิชัย ลีละศิริ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ต้นตนัย นำเบญจพล ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Keywords:

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์, การปลูกถ่ายไขกระดูก, ยาเคมีบำบัดขนาดสูง, Acute myeloid leukemia, High-dose cytarabine, Allogeneic stem cell transplantation

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูงในระยะ post-remission ยังมีความหลากหลายอยู่มาก ผู้ป่วยที่มีผู้บริจาคเป็นพี่น้องที่มี HLA ตรงกันจะได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก ส่วนในรายที่ไม่มีผู้บริจาคจะได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดขนาดสูง (high dose cytarabine) แต่ประสิทธิภาพของ 2 วิธีนี้เปรียบเทียบกันยังไม่แน่ชัด วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลการรักษาในระยะ post-remission ระหว่างการปลูกถ่ายไขกระดูก กับการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง วิธีการ : เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยการศึกษาจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีลอยด์กลุ่มเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูงที่ได้ complete remission (CR) หลังการรักษาในระยะ induction ในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551 ผลลัพท์ : ผู้ป่วยทั้งหมด 34 รายที่เข้าเกณท์การวินิจฉัย 17 ราย (ชาย 10 ราย) ในกลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูกและ 17 รายชาย 9ราย) ในกลุ่มยาเคมีบำบัดขนาดสูง อายุเฉลี่ยในกลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูกเท่ากับ 37.1 ปี และ กลุ่มยาเคมีบำบัดขนาดสูง 40.7 ปี (p =0.412) ค่ามัธยานของระยะเวลาที่รอดชีวิตโดยปราศจากโรค (disease free survival-DFS) และ อัตราการรอดชีวิตทั้งหมด (overall survival-OS) ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่ากับ 49.5 เดือนและ 48.9เดือนตามลำดับ ค่ามัธยานของ DFS ในกลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูกเท่ากับ 52.9เดือนและในกลุ่มยาเคมีบำบัดขนาดสูงเท่ากับ 45.4 เดือน (p =0.64) ส่วนค่ามัธยานของ OS ในกลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูกเท่ากับ 52.9เดือนและในกลุ่มยาเคมีบำบัดขนาดสูงเท่ากับ 43.3 เดือน (p =0.83). บทสรุป : การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีลอยด์กลุ่มเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูง ในระยะ post-remission ด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกมีแนวโน้มว่าอาจดีกว่าการให้ยาเคมีบำบัดในขนาดสูงแต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งอาจเป็นจากประชากรที่ศึกษายังมีจำนวนน้อยและต้องการศึกษาในกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นต่อไป

Key Words : มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ ; การปลูกถ่ายไขกระดูก ; ยาเคมีบำบัดขนาดสูง

 

Abstract

Background : Post-remission therapy in intermediate and high risk adult acute myeloid leukemia (AML) in first complete remission (CR) are allogeneic stem cell transplantation (allo SCT) in the patients who have human leukocyte antigen (HLA) matched sibling donors and high-dose cytarabine (HIDAC) in patients who cannot find a suitable donor. However, the comparative efficacies of these 2 modalities are uncertain. Objective : We compared the outcomes of HIDAC with allo SCT in post-remission therapy. Methods : We retrospectively reviewed the medical records of patients who were diagnosed as intermediate and high risk AML and obtained CR after induction therapy at Division of Hematology, Department of Internal Medicine, Phramongkutklao Medical College between 1999-2008. Results : Thirty four patients were enrolled in this analysis. Seventeen (10 men) and 17 (9men) patients were treated with allo SCT and HIDAC, respectively. The median age of the allo SCT group was 37.1 years and for HIDAC group was 40.7 years (p =0.412). The median disease free survival (DFS) and overall survival (OS) in all patients were 49.5 and 48.9months, respectively. The median DFS in allo SCT group and HIDAC group was 52.9and 45.4 months (p =0.64), respectively. The median OS in allo SCT and HIDAC group was 52.9and 43.3 months (p =0.83), respectively. Conclusion : Post-remission therapy with allo SCT showed a trend towards better survival compared with HIDAC therapy. However, there is no statistical significance, probably because the number of patients in this study is small. Further studies in larger sample sizes are required.

Key Words : Acute myeloid leukemia ; High-dose cytarabine ; Allogeneic stem cell transplantation

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)