ผลลัพธ์ของการใช้ยา Recombinant Factor VIIa ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Authors

  • พลภัทร โรจน์นครินทร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุดารัตน์ จิรวัฒนพงศ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดารินทร์ ซอโสตถิกุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

Recombinant Factor VIIa, อัตราการรอดชีวิต, ภาวะเลือดออกมาก, หลอดเลือดอุดตัน, Survival, Massive bleeding, Thrombosis

Abstract

บทคัดย่อ

ยา recombinant factor VIIa (rFVIIa) เป็นการรักษาที่สำคัญสำหรับภาวะที่มีเลือดออกรุนแรง จากสารต้านปัจจัยการแข็งตัวของเลือด หรือ การขาด factor VII นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในการหยุดเลือดที่ออกจากสาเหตุต่างๆซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาอื่นๆ อย่างไรก็ตามผลสำเร็จในภาวะหลังนี้ยังไม่ชัดเจน และยายังมีราคาแพงมากทำให้มีปัญหาในเรื่องความคุ้มทุน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของการใช้ rFVIIa เพื่อหยุดเลือด โดยดูอัตราการที่เลือดหยุด และ การรอดชีวิตออกจากโรงพยาบาล และ พยายามศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ดีของผู้ป่วย ซึ่งอาจช่วยเป็นแนวทางในการเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมในการรักษาด้วยยานี้ผู้วิจัยได้ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับ rFVIIa ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 54 ราย โดยมี 7 รายที่ใช้ตามข้อบ่งใช้ตามฉลากยา (สารต้านปัจจัยการแข็งตัวของเลือด หรือ การขาด factor VII) และ 47 รายที่ใช้เพื่อหยุดเลือดในภาวะอื่นๆ (Off-labeled use) เช่น ภาวะทางศัลยกรรมที่มีเลือดออกมากหลังผ่าตัด หลังการทำหัตถการ หรือมีภยันตรายรุนแรง และโรคอายุรกรรมที่มีเลือดออกมากและไม่สามารถรักษาได้โดยวิธีอื่น ผลการรักษาพบว่าเลือดหยุดสนิทหลังได้ยา 23 ราย (42.6%) เลือดออกช้าลง 29 ราย (53.7%) และมีผู้ป่วย 2 ราย (3.7%) ที่เลือดออกไม่ลดลง แต่มีผู้ป่วยเพียง 21 ราย (38.9%) ที่รอดชีวิตออกจากโรงพยาบาล และ 5 รายจากจำนวนนี้เสียชีวิตหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลโดย 4 ใน 5 รายนี้เป็นโรคมะเร็ง ด้านผลข้างเคียงพบผู้ป่วย 1 รายที่เป็น และ 1 รายที่สงสัยภาวะหลอดเลือดอุดตันหลังได้ยา ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการที่เลือดหยุดสนิทอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ การใช้ตรงตามข้อบ่งใช้ที่ระบุไว้บนฉลากยา (เลือดหยุด 85.7% เทียบกับ 36.2%, p=0.039) และ การใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ป่วยทางศัลยกรรม (55.2% เทียบกับ 28.0%, p=0.044) ส่วนตัวแปรที่สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีวิตออกจากโรงพยาบาล ได้แก่ การใช้ตรงตามข้อบ่งใช้ที่ระบุไว้บนฉลากยา (รอดชีวิต 85.7% เทียบกับ 31.9%, p=0.021) และ การที่เลือดหยุดสนิท (65.2% เทียบกับ 19.4%, p=0.001) นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะ sepsis จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (10.5% เทียบกับ 54.3%, p=0.002) แม้ว่าอัตราการหยุดเลือดไม่แตกต่างกันทางสถิติสรุปการใช้ยา rFVIIa นอกข้อบ่งใช้ที่ระบุบนฉลากยา (Off labeled use) อาจช่วยหยุดเลือดได้ แต่ผลไม่ดีเท่าการใช้ตามข้อบ่งใช้ นอกจากนี้ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งจะเสียชีวิตในเวลาต่อมาแม้ภาวะเลือดออกจะดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะ sepsis ร่วมด้วย

Key Words : Recombinant Factor VIIa, อัตราการรอดชีวิต, ภาวะเลือดออกมาก, หลอดเลือดอุดตัน

 

Abstract

Recombinant factor VIIa (rFVIIa) is the important medication for the managements of factor inhibitors and congenital factor VII deficiency with severe bleeding. In addition, it has been used for other massive hemorrhages. However, the efficacy in the latter conditions is unclear and there is a concern regarding the very high cost of the drug. Therefore, this study aims to investigate the outcomes, the bleeding cessation and survival rates, of the patients and correlate the clinical characteristics and prognosis. This may be helpful in selecting appropriate cases for this expensive treatment.The medical records of patients receiving rFVIIa from February 1999 to February 2009 were reviewed. There were 54 cases, 7 of which were treated according to the labeled indications (factor inhibitor และ factor VII deficiency). Forty seven were regarded as off-labeled uses, such as surgical cases that massively bled after surgery, trauma or procedures, and medical patients who suffered from uncontrolled hemorrhage. After rFVIIa, bleeding was stopped in 23 (42.6%), decreased in 29 (53.7%) and continued in 2 (3.7%). However, there were only 21 (38.9%) cases that were alive on discharge. Five of these survivors later expired. Four of them had cancer. Notably, there was 1 microvascular thrombosis and 1 suspected coronary thrombosis. The factors significantly associated with bleeding cessation were the labeled uses (Bleeding stopped in 85.7% vs. 36.2%, p=0.039.) and non-surgical cases (55.2% vs. 28.0%, p=0.044). The variables associated with in-hospital survival were also the labeled used (85.7% vs. 31.9% survival, p=0.021) and bleeding cessation (65.2% vs. 19.4%, p=0.001). Furthermore, patients with sepsis showed significantly lower survival rate (10.5% vs. 54.3%, p=0.002), although the hemostatic rates were similar.In conclusion, off-labeled uses of rFVIIa may be helpful to decrease the hemorrhage, but the outcomes are inferior to the labeled uses. In addition, a large proportion of cases subsequently died in the presence of sepsis.

Key Words : Recombinant Factor VIIa, Survival, Massive bleeding, Thrombosis

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)