การเปลี่ยนแปลงระดับ Panel Reactive Antibody ในผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียน รอรับการปลูกถ่ายไต

Authors

  • สุดารัตน์ วิบูลย์ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • ศุภสิริ อุ่นใจ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • ศรีประไพ ขนุนทอง ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ศิริลักษณ์ เพียรเจริญ ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ภาวิณี คุปตวินทุ ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • อ้อยทิพย์ ณ ถลาง บัณฑิตศึกษา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ยุวดี อรรถจารุสิทธิ์ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • วิศิษฎ์ ฐิตวัฒน์ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

Keywords:

Kidney transplantation, Panel reactive antibody, Waited-list patients

Abstract

การตรวจแอนติบอดีต่อ HLA ที่พบในซีรัมผู้ป่วยเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปลูกถ่ายไตจึงต้องมีการตรวจ panel reactive
antibody (PRA) ในงานประจำเพื่อติดตามระดับและชนิดของแอนติบอดีในผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรอรับการปลูกถ่ายไต การศึกษา
ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์ PRA ของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรอรับการปลูกถ่ายไตเพื่อประเมินความถี่
ที่เหมาะสมสำหรับการตรวจ PRA โดยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลของศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม
พ.ศ. 2557 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ผู้ป่วยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 929 ราย เป็นผู้ป่วยที่ส่งซีรัมมาตรวจ PRA ที่ศูนย์บริการ
โลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยในการศึกษาในครั้งนี้แบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่มตามค่าเปอร์เซ็นต์ PRA คือกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
ต่ำ (%PRA = 0 และ 1-10) กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลาง (%PRA = 11-49) และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (%PRA ≥ 50)
ทั้งนี้มีผู้ป่วยเพียง 364 รายที่มีผลการตรวจ PRA มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปที่นำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความ
เสี่ยงต่ำซึ่งพบมากที่สุดจำนวน 280 ราย มีเพียง 1 รายเท่านั้นที่ค่าเปอร์เซ็นต์ PRA สูงขึ้นในช่วงระยะเวลา 3 เดือนภายหลังจากการ
ตรวจครั้งแรกและส่งผลต่อคะแนนเกณฑ์การจัดสรรไตในส่วนของ PRA ทำให้ได้คะแนนเพิ่มจาก 0 เป็น 2 คะแนน สำหรับผู้ป่วย
กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางจำนวน 29 ราย พบผู้ป่วยจำนวน 6 รายมีค่าเปอร์เซ็นต์ PRA ลดลง ขณะที่อีก 2 รายมีค่าเปอร์เซ็นต์ PRA
เพิ่มขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับคะแนนเพิ่มจาก 0 เป็น 2 คะแนน นอกจากนี้กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 55 ราย พบผู้ป่วย 13
รายที่ค่าเปอร์เซ็นต์ PRA ลดลงส่งผลให้คะแนนลดลงจาก 4 เป็น 2 คะแนน จำนวน 7 ราย และลดลงจาก 2 เป็น 0 คะแนน จำนวน
6 ราย อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยจำนวน 8 รายที่ค่าเปอร์เซ็นต์ PRA เพิ่มขึ้นและส่งผลให้ได้คะแนนเพิ่มจาก 2 เป็น 4 คะแนน โดยสรุป
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ความถี่ที่เหมาะสมของการตรวจ PRA ในผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรอรับการปลูกถ่ายไตคือทุก 3 เดือน โดย
เฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำอาจต้องตรวจ PRA เพิ่มเติมเมื่อผู้ป่วยได้รับโลหิตหรือ
ผลิตภัณฑ์โลหิต

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)