การประเมินคุณภาพของสารควบคุมผลลบที่เตรียมขึ้นเอง ณ โรงพยาบาลศิริราช สำหรับการทดสอบความเข้ากันได้ด้วยวิธีโฟลไซโตเมทรี

Authors

  • ยุบลรัตน์ ธนเขตไพศาล ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุทธิศักดิ์ แจ่มใส ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิชิตชัย บิณฑาประสิทธิ์ ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กฤษดา โคกตาทอง ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปาริชาติ เพิ่มพิกุล ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

Flow cytometry crossmatch, Negative control serum

Abstract

การทดสอบความเข้ากันได้ก่อนการปลูกถ่ายอวัยวะด้วยวิธี flow cytometry crossmatch (FCXM) เป็นวิธีที่มีความไว
มากที่สุด การใช้สารควบคุมผลลบ (negative control serum, NCS) ในการทดสอบจึงมีความสำคัญมากในการช่วยแปลผลความ
เข้ากันได้ระหว่างผู้ให้และผู้รับอวัยวะอย่างถูกต้องและเชื่อถือได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพสารควบคุมผลลบที่
เตรียมขึ้นเองของห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อระดับซีโรโลยี Siriraj in-house NCS กับ สารควบคุมผลลบมาตรฐาน FlowPRA®
NCS (One Lambda Inc, USA) ในการทดสอบความเข้ากันได้ด้วยวิธี FCXM วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง
การทำ FCXM ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยใช้สารควบคุมผลลบที่เตรียมขึ้นเอง Siriraj inhouse
NCS เปรียบเทียบกับสารควบคุมผลลบ FlowPRA® NCS นำค่า median fluorescence intensity (MFI) ของทั้งสอง
ชนิดมาวิเคราะห์ค่าความแตกต่างโดยใช้ paired t-test และ ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson’s correlation ผลการศึกษา
การทดสอบความเข้ากันได้ด้วยวิธี FCXM ในคนปกติที่มีสุขภาพดีจำนวน 20 คน ทั้ง T และ B-FCXM โดยใช้ Siriraj in-house
NCS พบว่าให้ค่าเฉลี่ย MFI เท่ากับ 121.20 ± 10.28 และ 247.75 ± 17.45 ตามลำดับ ส่วนการใช้ FlowPRA® NCS ให้ค่าเฉลี่ย
MFI เท่ากับ 120.45 ± 11.72 สำหรับ T-FCXM และ 225.80 ± 33.27 สำหรับ B- FCXM เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของ
ค่าเฉลี่ย MFI พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.5) โดยมีความสัมพันธ์กันเชิงเส้นตรงทางบวกในระดับ
ดีมาก (r = 0.91) สำหรับ T-FCXM แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับ B-FCXM (p < 0.0004) เมื่อทำการ
ประเมินการทดสอบความเข้ากันได้ของคู่ผู้ป่วยและผู้บริจาคไตที่มีชีวิตจริงจำนวน 10 คู่ ซึ่งทำเฉพาะ T-FCXM พบว่าค่า MFI เฉลี่ย
ของสารควบคุมผลลบทั้งสองชนิดมีค่าใกล้เคียงกันมากคือ 134.50 ± 10.68 และ 134.25 ± 11.04 สำหรับ Siriraj in-house NCS
และ FlowPRA® NCS ตามลำดับ และไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่า MFI เฉลี่ยของสารควบคุมผลลบทั้ง
สองชนิด (p = 0.577) โดยมีความสัมพันธ์กันเชิงเส้นตรงทางบวกในระดับดีเยี่ยม (r = 0.98) สรุป สารควบคุมผลลบที่เตรียมขึ้นเอง
Siriraj in-house NCS เพื่อนำมาใช้ในการทดสอบความเข้ากันได้ก่อนการปลูกถ่ายอวัยวะด้วยวิธีโฟลไซโตเมทรี สามารถนำมาใช้แทน
สารควบคุมผลลบที่ซื้อจากต่างประเทศได้สำหรับการทำ T-FCXM จากการศึกษานี้แสดงถึงการสร้างนวัตกรรมจากการบริหารจัดการ
ทรัพยากรที่สามารถหาได้เองจากงานบริการ มีคุณภาพดี ต้นทุนต่ำลดการจัดซื้อทำให้ประหยัดงบประมาณแผ่นดิน และเป็นแนวทาง
ให้กับห้องปฎิบัติการอื่น สามารถนำไปใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงานต่อไปได้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)