ผลของการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริจาคโลหิตติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เพื่อลดการกลับมาบริจาคโลหิตซ้ำ

Authors

  • วรางคณา โสฬสลิขิต กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลแพร่ กระทรวงสาธารณสุข
  • รัตนา ศรีปณิธาน กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลแพร่ กระทรวงสาธารณสุข
  • พิเชษฐ์ เวียงหก กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลแพร่ กระทรวงสาธารณสุข

Keywords:

การให้คำปรึกษา, ผู้บริจาครายใหม่, ผู้บริจาครายเก่า, Counseling, First-time Donors, Repeated Donors

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการดำเนินงานพัฒนาปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษา แก่ผู้บริจาคโลหิตติดเชื้อไวรัสตับอักเสบที่มารับคำปรึกษา ก่อนมีการพัฒนากระบวนการให้คำปรึกษา ปี พ.ศ. 2549 และหลังมีการพัฒนากระบวนการ ในปี พ.ศ. 2550 ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริจาคโลหิตติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีใน ปี พ.ศ. 2549 จำนวน 460 ราย ปี พ.ศ. 2550 จำนวน 582 ราย พบมากในเพศชาย ร้อยละ 81.7 และร้อยละ 75.2 ตามลำดับ กลุ่มอายุ 17-27 ปี ติดเชื้อมากที่สุด ร้อยละ 47.0 และร้อยละ 42.8 ตามลำดับ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อาศัยอยู่นอกเขตอำเภอเมืองแพร่ ร้อยละ 57.2 และร้อยละ 64.9 ตามลำดับ อาชีพรับจ้าง ทำไร่ ทำนา ติดเชื้อมากที่สุด ร้อยละ 34.8 และร้อยละ 36.8 ตามลำดับ เป็นผู้บริจาครายเก่าร้อยละ 56.1 และร้อยละ 55.3 ตามลำดับ โดยเพศและถิ่นที่อยู่ เป็นปัจจัยที่พบความแตกต่างกันของความชุกของการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.011และ p=0.013) ปี พ.ศ. 2549 ผู้บริจาคโลหิตติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซีจำนวน 67 ราย ปี พ.ศ. 2550 จำนวน 72 ราย พบมากในเพศชาย ร้อยละ 92.5 และร้อยละ 80.6 ตามลำดับ กลุ่มอายุ 39-49 ปี ติดเชื้อมากที่สุด ร้อยละ 34.3 และ ร้อยละ 36.1 ตามลำดับ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อาศัยอยู่นอกเขตอำเภอเมืองแพร่ ร้อยละ 52.2 และร้อยละ 66.7 ตามลำดับ อาชีพรับจ้าง ทำไร่ ทำนา ติดเชื้อมากที่สุด ร้อยละ 49.3 และร้อยละ 50.0 ตามลำดับ เป็นผู้บริจาครายเก่า ร้อยละ 58.2 และร้อยละ 50.0 ตามลำดับ และปัจจัยด้านเพศมีความแตกต่างกันของความชุกของการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.040) อัตราการกลับมาบริจาคซ้ำ ก่อนพัฒนากระบวนการให้คำปรึกษาในปี พ.ศ. 2549 และหลังพัฒนากระบวนการให้คำปรึกษาในปี พ.ศ. 2550 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยในปี พ.ศ. 2549 พบผู้บริจาคโลหิตติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและชนิดซี กลับมาบริจาคซ้ำร้อยละ 73.5 และร้อยละ 74.6 ตามลำดับ ปี พ.ศ. 2550 พบร้อยละ 5.7 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ เมื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบในโลหิตบริจาคทั้งหมด ระหว่างปี พ.ศ. 2549–2551 พบความชุกของการติดเชื้อ ร้อยละ 4.9, 5.0 และ 4.0 ตามลำดับ แสดงถึงประสิทธิผลของการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริจาคโลหิตที่ติดเชื้อ ซึ่งทำให้ผู้ติดเชื้อรับรู้และเข้าใจไม่กลับมาบริจาคโลหิตซ้ำอีก งานธนาคารเลือดจึงควรจัดให้มีการพัฒนากระบวนการดังกล่าวอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่าย ทำให้การบริการโลหิตมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Key Words : การให้คำปรึกษา, ผู้บริจาครายใหม่, ผู้บริจาครายเก่า

 

Abstract

The purpose of this study is to find out the result of the outcome of counseling and improve the method of counseling for infected blood donors. Before and after counseling in the year 2006 and 2007 the result was that there were 460 and 582 of hepatitis B infected donors found respectively. Most of them were male (81.7 and 75.2%) labours workers and farmers (34.8 and 36.8%). The big group of hepatitis B infected donors were 17-27 years of age (47.0% in 2006 and 42.8% in 2007). The majority of them lived in the country of Phrae Province (57.2% in 2006 and 64.9% in 2007). 56.1 and 55.3% of them were repeated donors in 2006 and 2007 respectively. Sex and living area were the main factors of affecting rate (p = 0.011 and p=0.013). In 2006 and 2007, there were 67 and 72 of hepatitis C infected donors found respectively. Most of them were male (92.5 and 80.6%) labours workers and farmers (49.3 and 50.0%). The big group of hepatitis C infected blood donors were 39-49 years of age (34.3% in 2006 and 36.1% in 2007). The majority of them lived in the country of Phrae Province (52.2 and 66.7%). 58.2 and 50.0% of them were repeated donors respectively. Sex was the main factor of affecting rate (p=0.040). The redonation rates before and after consultation are significantly different (p < 0.001). Before the improved counseling in 2006, 73.5% of hepatitis B infected donors and 74.6% of hepatitis C ones returned to donate their blood. After the improved counseling in 2007, the number of them reduced to 5.7% and 3.7% in 2006 and 2007 respectively. From 2006-2008 the prevalence of hepatitis infected bloods were 4.9, 5.0 and 4.0 respectively. Thus, the blood bank should continue counseling development to decrease the risk of infection and working expenses and make blood donation more efficiently and safely.

Key Words : Counseling, First-time Donors, Repeated Donors

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)