การศึกษาอาการไม่พึงประสงค์และผลข้างเคียงของผู้บริจาคที่เกิดจากการบริจาค เกล็ดเลือด (Plateletpheresis)และเม็ดเลือดแดง (Red Cell Apheresis) ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Authors

  • สมใจ สมบัตินิมิตสกุล ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • นภัสศิริ สมใจ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • เพ็ญโฉม เอี่ยวเจริญลาภ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Abstract

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้บริจาคเกล็ดเลือด และเม็ดเลือดแดง ด้วยวิธี apheresis ทั้งที่เกิดขึ้นขณะและหลังการบริจาค ได้แก่ อาการชาที่เกิดในกระบวนการบริจาคจากน้ำยากันเลือดแข็งตัว อาการบวมเขียวช้ำเกิดก้อนเลือดขัง อาการเป็นลม และผลข้างเคียงจากการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาต่างๆ เช่น เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด การบริจาคเกล็ดเลือดที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ใช้เครื่องแยกเซลล์ (blood cell separator) 3 บริษัท คือ Fenwal Amicus Haemonetics MCS+ และ TerumoBCT Trima Accel ส่วนการรับบริจาคเม็ดเลือดแดงใช้เครื่อง Haemonetics MCS+ และ Fenwal Alyx โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม 2554 จำนวนผู้บริจาคทั้งหมด 7,126 ราย เป็นผู้บริจาคเกล็ดเลือด (plateletpheresis) จำนวน 6,237 ราย และผู้บริจาคเม็ดเลือดแดง (red cell apheresis) จำนวน 889 ราย เก็บข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์จากการบริจาค โดยพยาบาลที่ปฏิบัติงานประจำเครื่องแยกเซลล์ ในแบบฟอร์ม apheresis worksheet มาวิเคราะห์อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการบริจาคและผลข้างเคียง เช่น ระดับฮีมาโตคริต (Hct) เกล็ดเลือด (platelet) ก่อนและหลังบริจาค โดยแยกตามกลุ่ม อายุ จำนวนครั้งการบริจาค และชนิดของเครื่องแยกเซลล์ที่ใช้รับบริจาค ผลการศึกษา พบอาการไม่พึงประสงค์ 3,852 ราย (33.4%) จากการบริจาคทั้งหมด 11,531 ครั้ง อาการที่ไม่พึงประสงค์พบได้บ่อยคืออาการชาเล็กน้อยที่มือ หน้า 3,683 ราย (31.9%) พบ อาการเป็นลม 17 ราย (0.15%) ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรงคือมีอาการหน้าซีด เหงื่อออกคล้ายจะเป็นลม 15 ราย มีอาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติระยะสั้น 2 ราย มีก้อนเลือดขังขนาดเล็ก (hematoma) 152 ราย (1.3%) พบว่าอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุ ความถี่ในการบริจาค แต่มีความสัมพันธ์กับชนิดเครื่องแยกเซลล์ที่ใช้รับบริจาค ภายหลังบริจาคทั้งเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดแดง พบผลข้างเคียงค่าฮีมาโตคริต และเกล็ดเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) หลังการบริจาค plateletpheresis ผู้บริจาคมีค่าเกล็ดเลือดลดลงร้อยละ 25-30 การลดลงของเกล็ดเลือดในผู้บริจาคเกล็ดเลือด มีความสัมพันธ์กับอายุ ความถี่ของการบริจาค และเครื่องแยกเซลล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และหลังการบริจาค red cell apheresis ผู้บริจาคมีค่าฮีมาโตคริต ลดลงร้อยละ 9-10 การลดลงของฮีมาโตคริตในผู้บริจาคเม็ดเลือดแดง ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุ และ/หรือความถี่ของการบริจาค แต่มีความสัมพันธ์กับชนิดเครื่องแยกเซลล์ (p < 0.05) สรุป การศึกษาครั้งนี้พบว่าการบริจาคเกล็ดเลือด และการบริจาคเม็ดเลือดแดง เป็นการบริจาคที่ปลอดภัยมีอาการที่ไม่พึงประสงค์น้อย และไม่พบอาการที่รุนแรงจนต้องการดูแลจากแพทย์หรือรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ต้องเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์เป็นพิเศษ เช่น ผู้บริจาคครั้งแรก ผู้บริจาคกลุ่มอายุ 41- 50 ปี ที่มีน้ำหนักตัวมากขึ้น ผู้บริจาคที่มีค่าเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดต่ำ ควรเตรียมความพร้อมของผู้บริจาคก่อน บริจาคและป้องกัน โดยให้ผู้บริจาคกินแคลเซียมในขนาด 1,000 มก. ในเวลาครึ่งชั่วโมงก่อนบริจาค เจาะเลือดเพื่อตรวจดูค่าทางโลหิตวิทยา เช่น ปริมาณเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ก่อนและหลังบริจาค และลงบันทึกข้อมูลในกระบวนการบริจาคไว้เป็นประวัติ สำหรับติดตามและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริจาค

Key Words : อาการไม่พึงประสงค์, ผลข้างเคียง, Plateletpheresis, Red cell apheresis

Abstract

The purpose of this study is to report the frequency of complications and changes of complete blood count after plateletpheresis and red cell apheresis in voluntary healthy donors using different cell separator systems. Data of about 7,126 donors were collected during January to December 2554. Six thousand two hundred thirty-seven donors were performed as plateletpheresis using 3 type of cell separator ie., the Fenwal Amicus, Haemonetics MCS plus and TerumoBCT Trima Accel. Eight hundred eighty nine red cell apheresis donors using the Haemonetics MCSplus and Fenwal Alyx. After complete the process donation, the data on complications, hematocrit and platelet values were collected and analyzed according to the age group, frequency of donations and types of cell separator system. Of about 11,531 donations, 3,852 were found; the most common complication 3,683 cases (96.2%) was mild paresthesias with the most common areas at face and hand. The other complecations were 17 cases (0.4%) of minor fainting, 15 of 17 were prefainting, 2 cases of fainting with a short loss of consciousness, and 152 cases (3.9%) of small hematoma. There were no significant trends in the relationships between complication rate with frequency of donation, but there were significant relationships between age groups, and types of cell separator system. After completing the plateletpheresis and red cell apheresis, hematocrit and platelet values were decreased significantly. For plateletpheresis, the platelet count was decreased of about 25-30% and statistically significantly correlated with those of age groups, donation frequency and types of cell separator system. For those of red cell aphaeresis using 2 type cell separators, the hematocrit values were depleted of about 9-10%. There were no correlation between age and donation frequency, but significant correlated with the types of cell separator system (p < 0.05). In conclusion plateletpheresis and red cell apheresis were safe procedure for donation, with a low risk of serious complications and no needs for approaching medical or hospital cares. The careful monitoring of donors who are a risk group (first time donor, age over 41 years who trended to be over weighed and low pre- platelet and low red blood cell count donor), were recommended as well as the donor preparation by giving cacium 1,000 mg ½ hour before donation and check up the complete blood count before and after procedures for donor safety.

Key Words : Complication, Adverse effects, Plateletpheresis, Red cell apheresis

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)