ผลการรักษา Lymphoma และ Myeloma โดยใช้ High Dose Chemotherapy ร่วมกับ Autologous Hematopoietic Stem Cell Transplantation ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
Keywords:
Autologous hematopoietic stem cell transplantation, Lymphoma, Myeloma, Regional hospitalAbstract
การให้ high dose chemotherapy (HDT) ร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดชนิดที่ใช้เซลล์ของตนเอง
(autologous hematopoietic stem cell transplantation, ASCT) เป็นวิธีการรักษาที่จำเป็นต้องมีในศูนย์บริการที่ให้การดูแลผู้ป่วย
lymphoma และ myeloma วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการรักษาโดยใช้ HDT ร่วมกับ ASCT ในการรักษา Hodgkin lymphoma
(HL), non-Hodgkin lymphoma (NHL) และ myeloma ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคของประเทศไทย วัสดุและวิธีการ รวบรวม
ข้อมูลผู้ป่วย HL, NHL และ myeloma ที่ทำการรักษาโดยใช้ HDT ร่วมกับ ASCT ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด
พิษณุโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ผลการศึกษา มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 23 ราย ประกอบด้วย
lymphoma 12 ราย (relapsed HL 6 ราย relapsed NHL 3 ราย refractory HL 1 ราย refractory NHL 1 ราย และ high-risk
NHL ภายหลังได้ complete remission ครั้งแรก 1 ราย) และ myeloma 11 ราย ผู้ป่วยทั้งหมดทำการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากกระแส
เลือด (peripheral blood stem cell collection) สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1.5 : 1 ผู้ป่วย lymphoma 12 ราย มีอายุตั้งแต่
18 ปี ถึง 58 ปี (median 31 ปี) ผู้ป่วย myeloma 11 ราย มีอายุตั้งแต่ 41 ปี ถึง 61 ปี (median 53 ปี) ผู้ป่วย lymphoma ส่วน
ใหญ่ได้รับ conditioning chemotherapy ประกอบด้วย carmustine, etoposide, cytarabine และ melphalan ผู้ป่วย myeloma
ทั้งหมดได้รับ high dose melphalan (200 mg ต่อตารางเมตร) เป็น conditioning regimen จำนวนเซลล์ CD34+ ต่อกิโลกรัมของ
ผู้ป่วยมีจำนวนตั้งแต่ 1.61 x 106 ถึง 29.85 x 106 (median 6.30 x 106) ผู้ป่วยทั้งหมดมี marrow engraftment หลังให้ HDT
ร่วมกับ ASCT โดยมี neutrophil engraftment ระหว่างวันที่ 8 ถึงวันที่ 11 (median วันที่ 9) หลังให้เซลล์ต้นกำเนิด ไม่มีผู้ป่วยเสีย
ชีวิตใน 100 วันแรก หลังให้เซลล์ต้นกำเนิด median follow up ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่ากับ 21.8 เดือน (3.6 ถึง 65.3 เดือน) สำหรับ
ผู้ป่วย HL และ NHL ทั้ง 12 ราย มี progression-free survival (PFS) และ overall survival (OS) ที่ 3 ปี เท่ากับร้อยละ 60 และ
ร้อยละ 70 ตามลำดับ ในผู้ป่วย myeloma 11 ราย มี PFS และ OS ที่ 3 ปี เท่ากับร้อยละ 58 และร้อยละ 73 ตามลำดับ สรุป ผล
การรักษา lymphoma และ myeloma โดยใช้ HDT ร่วมกับ ASCT ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคของไทยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดย
ผลการรักษาที่ได้ไม่ต่างจากผลการรักษาที่เป็นมาตรฐานทั่วโลก การดำเนินงานไม่ยุ่งยากจนเกินไป สามารถทำได้ในโรงพยาบาลส่วนภูมิ
ภาคที่มีการเตรียมการที่ดี ดังนั้นในแง่ของการบริการควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหน่วยบริการปลูกถ่ายไขกระดูกในส่วนภูมิภาคให้มาก
ขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาผู้ป่วย lymphoma และ myeloma ของประเทศไทย