ความชุกของการติดเชื้อในผู้บริจาคโลหิตของโรงพยาบาลตำรวจ

Authors

  • ศุภรดา อิงคนันท์ งานธนาคารเลือด กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ
  • ผกาวรรณ ชนะชัยสุวรรณ งานธนาคารเลือด กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ

Keywords:

Blood donor, Prevalence, Hepatitis B virus, Hepatitis C virus, HIV, Syphilis

Abstract

การจัดหาโลหิตที่ปลอดภัย ประกอบด้วย การคัดกรองผู้บริจาคโลหิต และการตรวจกรองการติดเชื้อในโลหิตบริจาคอย่างมี
ประสิทธิภาพโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับ
อักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสเอชไอวี และซิฟิลิส จำแนกตามเพศ อายุ และสถานภาพ ในผู้บริจาคโลหิตของโรงพยาบาลตำรวจ
ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555 วิธีการศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริจาคโลหิตในโรงพยาบาลตำรวจ ตั้งแต่ เดือนมกราคม
พ.ศ. 2551 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 จากโลหิตบริจาคทุกยูนิตที่ได้รับการตรวจกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
ไวรัสเอชไอวี และซิฟิลิส โดยวิธี Chemiluminescence Immunoassay (CLIA) และวิธี Nucleic Acid Test (NAT) ผลการศึกษา
ในช่วงปี พ.ศ. 2551–2555 มีผู้บริจาคโลหิต จำนวน 6,581 ราย เพศชายและเพศหญิงมีการบริจาคโลหิตในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ
ร้อยละ 58.88 และ 41.12 เป็นผู้บริจาคโลหิตรายเก่ามากกว่ารายใหม่คือร้อยละ 73.97 และ 26.03 ผู้บริจาคโลหิตกลุ่มอายุ 31-40 ปี
มีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30.10 โดยพบความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมากที่สุด ร้อยละ 1.49 ไวรัสตับอักเสบซี
ร้อยละ 0.71 ไวรัสเอชไอวีร้อยละ 0.39 และซิฟิลิสร้อยละ 0.15 อัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสเอชไอวี และ
ซิฟิลิส เมื่อจำแนกรายปี พบว่า มีปริมาณใกล้เคียงกันทุกปี เพศชายมีการติดเชื้อทุกชนิดสูงกว่าเพศหญิง ไม่มีผู้บริจาคโลหิตรายใดให้ผล
บวกกับ HIV Ag และผลการตรวจกรองการติดเชื้อด้วยวิธี NAT ให้ผลลบทุกราย สรุป จากการศึกษาทำให้ทราบความชุกและแนว
โน้มของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสเอชไอวี และซิฟิลิสของผู้บริจาคโลหิต การจัดหาโลหิตที่ปลอดภัยและคุ้มค่า
จะต้องมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คำแนะนำก่อนบริจาคโลหิต รวมถึงการให้ข้อมูลแก่ผู้บริจาคในการ
คัดกรองตนเอง และลงลายมือชื่อยินยอมในการบริจาคโลหิต ต้องทำอย่างเคร่งครัดทุกรายทั้งในผู้บริจาครายใหม่และรายเก่า ตลอดจน
การตรวจสอบประวัติผู้บริจาครายเก่าก่อนการบริจาคโลหิตมีความสำคัญเพื่อป้องกันการบริจาคซ้ำในผู้ที่เคยตรวจพบการติดเชื้อมาก่อน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)