การสร้างเซลล์สายพันธุ์ไฮบริโดมาด้วยวิธี Murine Monoclonal HybridomaTechnology เพื่อผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิต Anti-M และ Anti-N

Authors

  • กัลยา เกิดแก้วงาม ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ศิริพร พลเสน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สุวิทย์ โพธิ์นิมิตร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • อุดม ติ่งต้อย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สร้อยสอางค์ พิกุลสด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Keywords:

Anti-M, Anti-N, Murine monoclonal, Hybridoma

Abstract

บทคัดย่อ ปัจจุบันการผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิต anti-M และ anti-N ของฝ่ายผลิตน้ำยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ยังคงใช้วิธีผลิตจากน้ำเหลืองกระต่าย (rabbit polyclonal) ซึ่งความแรงของแอนติบอดีที่ผลิตได้ในแต่ละครั้งไม่คงที่ เพราะต้องทำการดูดซับแอนติบอดีชนิดอื่นๆ ที่ไม่ต้องการ (antibodies adsorption) การผลิตโมโนโคลนัลแอนติบอดีด้วยวิธี murine monoclonal hybridoma technology จะได้แอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าและสามารถผลิตแอนติบอดีชนิดนั้นๆ ได้ในปริมาณมากตามความต้องการ รวมทั้งมีความแรงและความจำเพาะมากกว่า วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเซลล์สายพันธุ์ไฮบริโดมา (hybridoma cell line) ที่สามารถนำมาผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิต anti-M และ anti-N ด้วยวิธี murine monoclonal hybridoma technology วัสดุและวิธีการ ใช้เซลล์เม็ดเลือดขาวจากม้ามหนู BAL B/c ที่ถูกฉีดกระตุ้นด้วย 20% เซลล์เม็ดเลือดแดงของคนหมู่ O phenotype M+N+ รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง ทำการเชื่อมเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้จากม้ามของหนูที่ถูกฉีดกระตุ้นแล้วกับเซลล์มะเร็งของหนูสายพันธุ์เดียวกัน (SP2/O) เมื่อเกิดไฮบริโดมาจึงนำน้ำเลี้ยงเซลล์ไฮบริโดมาทดสอบกับ screening cells O1(M+N-) และ O2 (M-N+) เพื่อคัดเลือก hybridoma ที่ให้ผลบวกกับ screening cells O1(M+N-) หรือ O2 (M-N+) เพียงเซลล์เดียวเท่านั้นมาเลี้ยงขยายต่อ ทดสอบน้ำเลี้ยงเซลล์อีกครั้งด้วย identification panel cells และ papainized identification panel cells เพื่อคัดเลือกโคลนที่สร้าง anti-M หรือ anti-N แล้วนำมาทำการเจือจางลดสัดส่วน (limiting dilution) เพื่อแยกโมโนโคลนและเลี้ยงขยายโมโนโคลนที่ได้ให้โตเต็มที่ เก็บแช่แข็งในไนโตรเจนเหลวเพื่อเก็บไว้เป็นต้นโคลน ส่วนน้ำเลี้ยงเซลล์เก็บไว้เพื่อทดสอบทาง serology อย่างละเอียดต่อไป ผลการศึกษา งานวิจัยนี้สามารถสร้างไฮบริโดมาที่ผลิต anti-M จำนวน 1 โคลน คือ NBC-M2 (7H32B7) และไฮบริโดมาที่ผลิต anti-N จำนวน 4 โคลน คือ NBC-N1(139G3G2), NBC-N2 (9A3D9), NBC-N3(9A5B7) และ NBC-N4(9D3D5) วิจารณ์และสรุป จากการทดสอบทาง serology เบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าไฮบริโดมาที่สร้างขึ้นใหม่ทุกโคลนสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำยาตรวจหมู่โลหิต anti-M และ anti-N ได้อย่างไรก็ตามไฮบริโดมาทุกโคลนเป็นโคลนที่สร้างขึ้นใหม่ยังต้องทดสอบทาง serology อีกมาก เพื่อให้เชื่อมั่นว่า anti-M และ anti-N ที่ผลิตได้ใหม่นี้มีความเหมาะสมที่จะนำไปผลิตเป็นน้ำยาตรวจหมู่โลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อทดแทนการผลิตจากน้ำเหลืองกระต่าย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)