Transfusion Reactions in Police General Hospital Patients During 2006-2012

Authors

  • ผกาวรรณ ชนะชัยสุวรรณ งานธนาคารเลือด โรงพยาบาลตำรวจ
  • กิตติพงษ์ สุวัฒนเดชา กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ

Keywords:

Transfusion reactions, Hemovigilance

Abstract

บทนำ  Hemovigilance เป็นระบบสำหรับเฝ้าระวังปฏิกิริยาจากการรับโลหิต ซึ่งครอบคลุมห่วงโซ่การบริการโลหิต เริ่มตั้งแต่การรับบริจาคโลหิต การเตรียมส่วนประกอบโลหิต และกระบวนการให้โลหิตแก่ผู้ป่วยสำหรับติดตามดูแลผู้ป่วยที่รับโลหิต การรายงาน และการตรวจหาสาเหตุการเกิดปฏิกิริยา ระบบเฝ้าระวังปฏิกิริยาจากการรับโลหิต จะช่วยให้ผู้บริจาคโลหิตและผู้ป่วยมีความปลอดภัยดังนั้นเป้าหมายสำคัญของระบบเฝ้าระวังปฏิกิริยาจากการรับโลหิต เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพและมีความปลอดภัยจากการรับโลหิตมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และชนิดของปฏิกิริยาจากการรับโลหิตในผู้ป่วย โรงพยาบาลตำรวจ วิธีกรศึกษาศึกษาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดปฏิกิริยาจากการรับโลหิตในโรงพยาบาลตำรวจ ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2555 รวมระยะเวลา 7 ปี การประเมินผลและจำแนกชนิดของปฏิกิริยาจากการรับโลหิตตามคำจำกัดความที่เป็นมาตรฐาน ผลกรศึกษาในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาผู้ป่วย จำนวน 42,069 ราย ได้รับโลหิตรวมทั้งหมด 104,134 ยูนิต มีผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาจากการรับโลหิต จำนวน 346 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของผู้ป่วยทั้งหมด อาการที่พบมากที่สุด คือ allergic reactions ร้อยละ 61.27 รองลงมาคือ febrile non-hemolytic transfusion reaction (FNHTR) ร้อยละ 37.57 ส่วนอาการอื่นๆ ที่พบน้อย ได้แก่ Transfusion Associated Circulatory Overload (TACO) ร้อยละ 0.87 และ hypertension ร้อยละ 0.29 สรุป จากการศึกษาพบปฏิกิริยาจากการรับโลหิต ร้อยละ 0.33 ปฏิกิริยาส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ allergic reactions และ FNHTR การให้ความรู้แก่บุคลากรเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการให้โลหิตทางคลินิก และการจัดการเมื่อผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาจากการรับโลหิตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ่งชี้ความเสี่ยง จำแนกชนิดและให้การป้องกันการเกิดปฏิกิริยาการรับโลหิตได้อย่างเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)