ผลของการดื่มน้ำต่อการบริจาคโลหิตในคนปกติที่มีความดันโลหิตต่ำ

Authors

  • วรวัตร ตั้งพูนผลวิวัฒน์ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย
  • สุญาดา จิรธันยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย
  • ชื่นฤทัย ยี่เขียน ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

Keywords:

Water drinking, Blood pressure, Blood donation reactions

Abstract

บทคัดย่อ คนปกติที่มีการออกกำลังกายและมีสุขภาพดี อาจมีความดันโลหิตซิสโตลิกต่ำกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท แต่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ เนื่องจากเกณฑ์การบริจาคโลหิตข้อหนึ่งคือ ต้องมีความดันโลหิตซิสโตลิกเท่ากับหรือมากกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการดื่มน้ำต่อความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิตที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำกับผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตปกติ วิธีการศึกษา ทำการวิจัยแบบกึ่งทดลองในอาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์การเป็นผู้บริจาคโลหิต แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองเป็นผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตต่ำ (90-99มิลลิเมตรปรอท) จำนวน 150 ราย และกลุ่มควบคุมเป็นผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตปกติ (100-140 มิลลิเมตรปรอท) จำนวน 159 ราย จัดสภาพการทดลองในห้องที่หน่วยรับบริจาคโลหิต ซึ่งมีอุณหภูมิห้องอยู่ระหว่าง 25-27 องศาเซลเซียส ให้อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มดื่มน้ำ 400 มิลลิลิตร และนั่งพักเป็นเวลา 20 นาที สำหรับผู้บริจาคโลหิตกลุ่มที่มีความดันโลหิตต่ำ เมื่อดื่มน้ำแล้วถ้ามีความดันโลหิตซีสโตลิกมากกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท ให้บริจาคโลหิตตามน้ำหนักตัวได้ เมื่อบริจาคโลหิตเสร็จให้นอนพักเป็นเวลา 15 นาที นั่งพักอีก 5 นาที วัดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ 4 ครั้ง ได้แก่ ก่อนการดื่มน้ำ หลังการดื่มน้ำ ท่านั่ง หลังการดื่มน้ำ ท่านอน และหลังการบริจาคโลหิตท่านั่ง และบันทึกการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังการบริจาคโลหิต ผลการศึกษา กลุ่มผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตต่ำ และกลุ่มผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตปกติ มีอายุเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกัน เท่ากับ 31.3 ± 8.0 และ 32.4 ฑ 7.1 ปี ตามลำดับ ความดันโลหิตซิสโตลิก/ไดแอสโตลิกเฉลี่ย ก่อนการดื่มน้ำของกลุ่มผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตต่ำและผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตปกติ เท่ากับ 93.8 ฑ 4.3/63.8 ฑ 8.0 และ 120.4 ฑ 11.0/75.3 ฑ 8.6 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ ภายหลังการดื่มน้ำความดันโลหิตซิสโตลิกของทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้น 13.7 และ 3.4 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการทดลองไม่แตกต่างกัน ส่วนอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังการบริจาคโลหิตไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตปกติพบร้อยละ 21.4 และผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ พบร้อยละ 23.3 สรุป ผู้ที่มีสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตซิสโตลิกน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างปลอดภัย ภายหลังการดื่มน้ำประมาณ 400 มิลลิลิตร ก่อนการบริจาคโลหิต 20 นาที โดยมีอัตราการเกิดผลข้างเคียงจากการบริจาคโลหิตไม่แตกต่างจากผู้บริจาคโลหิตที่มีความดันโลหิตซิสโตลิกปกติ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)