ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำยาวนานและการติดเชื้อรุนแรงจากการได้รับยา 6-mercaptopurine ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีโฮโมไซกัสของยีน Inosine Triphosphate Pyrophosphatase (ITPA) ที่ตำแหน่ง 94 C>A

Authors

  • วราภรณ์ กลมเกลา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เจษฎา บัวบุญนำ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปรียนันท์ ศิระประภาภัสส์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อัจจิมา ตรีสุคนธ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัศวีร์ วัฒนา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นัทธี นาคบุญนำ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กมล เผือกเพ็ชร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กลีบสไบ สรรพกิจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ชญามน ทักษ์ประดิษฐ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

Inosine triphosphate pyrophosphatase, Mercaptopurine, Hematological toxicities

Abstract

บทคัดย่อ มีการศึกษาถึงความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรม (polymorphism) ของเอนไซม์ที่ช่วยในกระบวนการเปลี่ยนแปลงของยาในกลุ่ม thiopurine อย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จัก เช่น thiopurine methyltransferase (TPMT) รวมถึงการศึกษาเอนไซม์ที่สำคัญอีกชนิดคือ inosine triphosphate pyrophosphatase (ITPA) โดยพบว่าเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการพยากรณ์อุบัติการณ์การเกิดภาวะไขกระดูกถูกกด (myelosuppression) ได้อย่างชัดเจนในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาจำพวก azathioprine mercaptopurine และ thioguanine ข้อแตกต่างที่สำคัญคือคนเชื้อชาติเอเชียจะพบความชุกของ ITPA variant allele ได้มากกว่า TPMT variant allele เมื่อมีการเปรียบเทียบกับชาวคอเคเชียน อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรมของ ITPA ในประเทศไทย ผู้นิพนธ์ได้รายงานกรณีศึกษาเด็กหญิงไทยอายุ 14 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด acute lymphoblastic leukemia และมีการติดเชื้อรารุนแรงที่ปอดชนิดแอสเปอร์จิลลัส (invasive pulmonary aspergillosis) ร่วมกับพบเชื้อวัณโรคในปอด รวมถึงผลเลือดแสดงภาวะไขกระดูกถูกกดยาวนานหลายสัปดาห์ ในช่วงที่ได้รับยา mercaptopurine ทุกวัน แม้ว่าจะได้รับการปรับลดขนาดยาลงเหลือครึ่งหนึ่งของยาที่ควรจะใช้รักษาแล้วก็ตาม ผลการตรวจเลือดพบ TMPT polymorphism เป็น wild type แต่ตรวจพบโฮโมไซกัส (homozygous) ITPA 94 C>A (AA genotype)รายงานผู้ป่วยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการศึกษาถึงความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรมของยีน ITPA และผลข้างเคียงต่อระบบโลหิตวิทยาจากการได้รับยาในกลุ่ม thiopurine และควรศึกษาอุบัติการณ์ของ ITPA ในกลุ่มประชากรไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

รายงานผู้ป่วย (Case report)