ต้นทุนการรับบริจาคโลหิต โรงพยาบาลลำปาง

Authors

  • สวัสดิ์ จันตาวงศ์ งานธนาคารเลือด กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง
  • วิชาญ เกี่ยวการค้า งานธนาคารเลือด กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง

Keywords:

Cost, Direct cost, Average total direct costs, Blood donation services

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนทางตรง และต้นทุนต่อหน่วยของการรับบริจาคโลหิต โรงพยาบาลลำปาง ปีงบประมาณ 2555 วัสดุและวิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลการรับบริจาคโลหิตจากสถานที่ 3 แห่ง ได้แก่ ภายในสถานที่ นอกสถานที่ และโครงการพิเศษ ศึกษาต้นทุนตามชนิดของถุงบรรจุโลหิต 6 ชนิด ได้แก่ Single bag (SB), Double bag (DB), Triple bag (TB), Quadruple bag (QB), Immuflex filter bag (IMM B) และ Single donor platelet (SDP) ผลการศึกษา ต้นทุนทางตรงการรับบริจาคโลหิตของโรงพยาบาลลำปางทั้งหมดเป็นเงิน 11,811,652.00 บาท ประกอบด้วยต้นทุนค่าแรง 1,546,682.00 บาท (ร้อยละ13.09) ต้นทุนค่าลงทุน 64,809.00 บาท (ร้อยละ 0.55) และต้นทุนค่าวัสดุ 10,200,160.00 บาท (ร้อยละ 86.36) ต้นทุนทางตรงเฉลี่ยการรับบริจาคโลหิตต่อถุงในสถานที่ นอกสถานที่ และโครงการพิเศษเท่ากับ 385.89, 387.61 และ 485.05 บาท ตามลำดับ เมื่อรวมถุงบรรจุโลหิตแล้ว การรับบริจาคโลหิตภายในสถานที่ มีต้นทุนของถุงชนิด SB, DB, TB, QB, IMM B และ SDP เท่ากับ 422.34, 482.86, 536.39, 735.92, 2214.45 และ 5422.61 บาท ตามลำดับ ส่วนต้นทุนของภายนอกสถานที่สำหรับถุงชนิด SB, DB, TB และ QB เท่ากับ 429.85, 490.50, 544.16 และ 743.81 บาท ตามลำดับ ต้นทุนของโครงการพิเศษสำหรับถุงชนิด SB, DB และ QB เท่ากับ 526.31, 586.95 และ 840.22 บาท ตามลำดับ วิจารณ์และสรุปผล ต้นทุนทางตรงการรับบริจาคโลหิตของโรงพยาบาลลำปาง เป็นต้นทุนค่าวัสดุมากที่สุด เนื่องจากมีค่าตรวจหาการติดเชื้อในโลหิต ต้นทุนทางตรงเฉลี่ยการรับบริจาคโลหิตในสถานที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เนื่องจากมีต้นทุนค่าวัสดุที่ต่ำส่วนโครงการพิเศษมีต้นทุนสูงที่สุด เนื่องจากมีต้นทุนค่าวัสดุและค่าลงทุนสูงกว่าแห่งอื่น ต้นทุนทางตรงเฉลี่ยเมื่อรวมค่าถุงบรรจุโลหิตแล้ว พบว่า ถุงบรรจุโลหิตชนิด SDP มีต้นทุนสูงสุด เนื่องจากถุงบรรจุโลหิตดังกล่าวมีราคาสูง ผลการศึกษาต้นทุนครั้งนี้ สามารถนำมากำหนดแนวทางการลดต้นทุน การควบคุมงบประมาณ และพัฒนางานการรับบริจาคโลหิตได้ เช่น ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มีการบริจาคโลหิตในสถานที่เพิ่มขึ้น พัฒนามาตรฐานและคุณภาพการเจาะเก็บโลหิต พัฒนาพฤติกรรมบริการและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาคโลหิต

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)