Anti-Chido in a Multitransfused Patient

Authors

  • มรกต เอมทิพย์ ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สุดาวรรณ ลิ้มธรรมภรณ์ ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • จิราภรณ์ จันทอักษร ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • วิมล มานะกุล ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ภาวิณี คุปตวินทุ ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Keywords:

Anti-Chido, Crossmatch incompatible, Blood transfusion, HTLA

Abstract

บทคัดย่อ ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 16 ปี โรค β Thalassemia HbE ได้รับการรักษาโดยการให้โลหิตเป็นประจำทุกเดือนจนถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยเริ่มได้โลหิตครั้งแรกตั้งแต่อายุ 5 ปี ผู้ป่วยมีหมู่โลหิต O, Rh positive ผลการตรวจ red cell phenotype คือ C+c+E+e+, Jk(a+b+), Fy(a+b-), K-k+, Di(a-), P2, M+N+S-s+, Mi(a-) และ Le(a-b+) การตรวจ antibody screening ให้ผลลบ ผู้ป่วยได้รับ Single donor red cells (SDR) ชนิด phenotype matched เป็นประจำต่อมาเมื่ออายุ 6 ปี พบว่า antibody screening ให้ผลบวก แต่ไม่สามารถบอกชนิดของแอนติบอดีได้ ศูยน์บริการโลหิตแห่งชาติได้ให้โลหิตชนิด phenotype matched ที่เป็น crossmatch compatible ทุกครั้ง ยกเว้นบางครั้งที่หาโลหิตดังกล่าวไม่ได้จึงให้ crossmatch incompatible blood แทน แต่ไม่ได้รับรายงานความผิดปกติใดๆ ในปี พ.ศ. 2555 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดเพิ่มเติมและพบว่าผู้ป่วยมี anti-Chido จากการทำplasma inhibition test และวิธี C4 coated red cells พร้อมทั้งตรวจยืนยันด้วย plasma Ch(-) Rg(+) และ plasma Ch(+) Rg(-) ปัจจุบันโลหิตที่ให้กับผู้ป่วยจึงเป็นชนิด phenotype matched และ Chido negative ซึ่งมีผล crossmatch compatible blood เสมอ ทั้งๆ ที่ anti-Ch เป็นแอนติบอดีในกลุ่ม high titer low avidity (HTLA) และเป็นแอนติบอดีที่ไม่มีความสำคัญทางคลินิกก็ตาม

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

รายงานผู้ป่วย (Case report)