การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจหาความแรงของ ABO antibodies ด้วยวิธีหลอดทดลองมาตรฐาน และเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติด้วยวิธี column agglutination technique

Authors

  • สุนิสา อ้นปันส์ Transfusion Medicine Unit, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross Society
  • จุฑาลักษณ์ ใจเพียร Transfusion Medicine Unit, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross Society
  • ณัฏฐรัตน์ หล่ออู่เจริญ Transfusion Medicine Unit, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross Society
  • ญุดา จองพิศาล Research Affair, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

Keywords:

Column agglutination technique, Titer of ABO antibodies

Abstract

บทคัดย่อ

บทนำ  การตรวจหาความแรงของแอนติบอดีหมู่เลือด ABO มีความสำคัญต่อกระบวนการวางแผนรักษาผู้ป่วย ปลูกถ่ายอวัยวะที่มีหมู่เลือด ABO เข้ากันไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะนำวิธีการตรวจโดยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ด้วยวิธีcolumn agglutination ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลการตรวจที่มีความแน่นอน และ แม่นยำ มาแทนที่วิธีหลอดทดลองมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน  วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าความแรงของแอนติบอดีหมู่เลือด ABO ที่ได้จากการตรวจด้วยวิธีหลอดทดลองมาตรฐานและเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ด้วยวิธี column agglutination วัสดุและวิธีการ ตัวอย่างพลาสมาของผู้บริจาคโลหิต จากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยจำนวน 180 ราย ประกอบด้วยหมู่โลหิต A, B และ O  อย่างละ 60 ราย นำมาทดสอบหาค่าความแรงของ anti-A และ anti-B ทั้งชนิด IgM และ IgG ด้วยวิธีหลอดทดลองมาตรฐานและโดยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ด้วยวิธี column agglutination และนำมาเปรียบเทียบความสัมพันธ์และความสอดคล้องระหว่างสองวิธี ผลการศึกษา พบว่าในจำนวนตัวอย่างทั้งหมดค่าความแรง ของ anti-A และ anti-B ทั้งชนิด IgM และ IgG ที่ตรวจด้วยวิธีหลอดทดลองมาตรฐานและด้วยวิธีcolumn agglutination มีความสอดคล้องร้อยละ 81.67 – 98.30 และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในระดับสูงเท่ากับ 0.73-0.94 และมีความสอดคล้องโดย Bland-Altman plot พบว่า ค่าเฉลี่ยความแตกต่างอยู่ระหว่าง -0.39 ถึง 0.53  สรุป การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลการตรวจความแรงของแอนติบอดีหมู่เลือด ABO โดยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ด้วยวิธี column agglutination และด้วยวิธีหลอดทดลองมาตรฐาน มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมากและมีความสอดคล้องกันดี แสดงถึงความน่าเชื่อถือของผลการตรวจ สามารถนำมาใช้ในงานประจำได้

Abstract:

Background: ABO antibody titration is an integral part for management of ABO incompatible organ transplantation, especially ABO-incompatible kidney transplants. Due to the precision of an automation, we planned  to use a fully automated antibody titration method using the column agglutination technique (auto-CAT) instead of a conventional tube  technique (CTT). Objective: To compare and correlate ABO antibody titers using CTT and auto-CAT.  Materials and Methods: A total of 180 donor serum samples consisted of 60 samples for each A, B and O blood groups, antibody titrations were performed using CTT and auto-CAT simultaneously. Spearman’s correlation and Bland-Altman plot were used to determine the correlation of ABO antibody titers between methods and to compare the methods agreement, respectively. Results: In all samples, the concordance rate of CTT and auto-CAT for IgM and IgG ABO antibody titers were 81.67 % to 98.30 % and correlated well with spearman rho correlation coefficient of 0.73 -0.94 (p < 0.001) . The Bland-Altman plot showed that the mean differences between the two methods were -0.39 to 0.53.  Conclusion: This study demonstrated that ABO antibody titers measured by auto-CAT and CTT had a highly significant correlation, and good agreement indicated reliable results. Thus auto-CAT can be implemented to perform antibody titration in routine laboratory testing.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-15

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)