คุณภาพการตรวจหมู่เลือด ABO และ Rh(D) ของห้องปฏิบัติการในประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545-2548
Keywords:
External quality assessment, Quality of ABO and Rh groupingAbstract
บทคัดย่อ
การ วิจัย นี้ มี จุด ประสงค์ หลัก เพื่อ แสดง ผล การ ประเมิน คุณภาพ การ ตรวจ หมู่ เลือด ABO และ Rh(D) ของ ห้อง
ปฏิบัติ การ สมาชิก ของ สำนัก มาตรฐาน ห้อง ปฏิบัติ การ กรม วิทยาศาสตร์ การ แพทย์ ระหว่าง ปี งบประมาณพ.ศ. 2545-
2548 ซึ่ง ดำเนิน การ โดย ส่ง ตัวอย่าง เลือด และ ซีรัมให้ แก่ ห้อง ปฏิบัติ การ สมาชิก ใน โรงพยาบาล ทั้ง ภาค รัฐ และ ภาค เอกชน
จำนวน 622, 654, 568 และ 636 แห่ง ใน ปี งบประมาณพ.ศ. 2545-2548 ตาม ลำดับ ผล การ ตรวจ วิเคราะห์ จะ ถูก นำ มา
รวบรวม วิเคราะห์ และ จัด ระดับ ประเมิน คุณภาพ ด้วย คะแนน มาตรฐาน เป็น excellent (= 4), very good (<4 ≥ 3.5),
borderline (< 3.5 ≥ 3.0) และ unacceptable (< 3.0) การ วิจัย นี้ พบ สมาชิก รายงาน ผล กลับ อย่าง ต่อ เนื่อง ใน ปี
งบประมาณพ.ศ. 2545-2548 มี จำนวน 331 แห่ง ( ร้อยละ 53), 452 แห่ง ( ร้อยละ 69), 456 แห่ง ( ร้อยละ 80) และ 496
แห่ง ( ร้อยละ 78) ตาม ลำดับ สมาชิก ผ่าน เกณฑ์ การ ประเมิน ระดับ borderline to excellentใน แต่ ละ ปี งบประมาณ ใน
การ ตรวจ หมู่ เลือด ABO ร้อยละ 94 (311/331), 93 (420/452), 95 (432/456) และ 95 (473/496) และ การ ตรวจ หมู่ เลือด
Rh(D) ร้อยละ 97 (281/289), 99 (397/400), 100 (421/421) และ 99 (470/476) ตาม ลำดับ ดังนั้น แสดง ว่า ใน ช่วง ปี
งบประมาณ ดัง กล่าว มี ห้อง ปฏิบัติ การ ไม่ ผ่าน เกณฑ์ การ ประเมิน (unacceptable) ร้อยละ 8 (28/331), 6 (26/452), 5 (23/
456) และ 5 (23/496) สำหรับ การ ตรวจ หมู่ เลือด ABO และ ร้อยละ 3 (8/289), 0.7 (3/400), 0 และ 1 (6/496) ของ การ
ตรวจ หมู่ เลือด Rh(D) ตาม ลำดับ แต่ การ วิจัย นี้ ยัง พบ ว่า ใน ช่วง ปี งบประมาณ เดียว กัน มี ห้อง ปฏิบัติ การ จำนวน หนึ่ง
ไม่ ผ่าน การ ประเมิน การ ตรวจ หมู่ เลือด ทั้ง ABO และ Rh(D) จำนวน ร้อยละ 1 (3/289), 0.2 (1/400), 0 (0/421) และ 0.8
(4/476) ตาม ลำดับ สาเหตุ หลัก ของ ข้อ ผิดพลาด ได้แก่ ข้อ ผิดพลาด ด้าน ผู้ ปฏิบัติ งาน (human errors) เช่น การ
รายงาน ผล หมู่ เลือด ผิด การ ตรวจ ตัวอย่าง สลับ หมายเลข การ บันทึก ผล การ ตรวจ ไม่ ครบ การ แปล ผล หมู่ เลือด ผิด ผล
การ ทดลอง และ การ แปล ผล หมู่ เลือด ไม่ สัมพันธ์ กัน และ ด้าน การ บริหาร จัดการ เช่น ไม่ สามารถ ให้ บริการ ครบ ตาม วิธี
มาตรฐาน เพราะ ไม่ มี เครื่อง ปั่น เพื่อ อ่าน ปฏิกิริยา และ ความ ไม่ สะดวก ใน การ จัดหา เซลล์ มาตรฐาน เป็นต้น อย่างไร ก็ ตาม
หาก นำ ระบบ คุณภาพ มา ใช้ อย่าง เต็ม รูปแบบ และ ต่อ เนื่อง รวม ทั้ง พัฒนา ความ สัมพันธ์ ตลอด จน ความ เข้าใจ ระหว่าง ห้อง
ปฏิบัติ การ กับ ผู้ บริหาร ให้ ดีขึ้น ปัญหา ต่างๆ ที่ เกิด ขึ้น ทั้ง ทาง ตรง และ ทาง อ้อม ควร จะ ได้รับ การ แก้ไข อย่าง แน่นอน