การบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่งส่วนประกอบโลหิตประเภทพลาสมาแช่แข็งโดยใช้น้ำเกลือแช่แข็ง

Authors

  • ธีระ วิทยาวิวัฒน์ National Blood Centre, Thai Red Cross Society

Keywords:

Ice pack, Frozen plasma component, Transportation, FFP, Cryoprecipitate, Packing, Dry ice

Abstract

บทคัดย่อ 

บทนำ องค์การ อนามัย โลก กำหนด เกณฑ์ มาตรฐาน อุณหภูมิ ที่ เหมาะสม สำหรับ การ ขนส่ง ส่วน ประกอบ โลหิต ประเภท
พลาสมา แช่ แข็ง (Frozen Plasma Component) ที่ อุณหภูมิ -18 ํซ. หรือ ต่ำ กว่า และ ระยะ เวลา ไม่ เกิน 24 ชั่วโมง ศูนย์ บริการ โลหิต แห่ง
ชาติ ได้ กำหนด ให้ ใช้ น้ำแข็ง แห้ง (dry Ice) เป็น วัสดุ ให้ ความ เย็น ใน การ บรรจุ หีบ ห่อ ทำให้ โรงพยาบาล ต้อง เตรียม dry ice ใน การ มา รับ
ส่วน ประกอบ โลหิต แต่ dry ice เป็น วัสดุ ที่ มี ราคา สูง ใช้ แล้ว หมด ไป หา ซื้อ ได้ ยาก โดย เฉพาะ โรงพยาบาล ต่าง จังหวัด และ มี อันตราย
หาก ใช้ อย่าง ไม่ ระมัด ระวัง วัตถุประสงค์: เพื่อ ทดลอง เตรียม Ice pack (IP) โดย ใช้ น้ำ เกลือ และ ศึกษา ประสิทธิผล ของ การ ใช้ ice
pack ที่ เตรียม ได้ ใน การ ขนส่ง ส่วน ประกอบ โลหิต ประเภท พลาสมา แช่ แข็ง ที่ สามารถ รักษา อุณหภูมิ ได้ ตาม เกณฑ์ มาตรฐาน ของ องค์การ
อนามัย โลก วัสดุ อุปกรณ์ / วิธี การ : ทดลอง เตรียม IP โดย ใช้ ขวด PET บรรจุ น้ำ เกลือ ที่ มี ปริมาณ เกลือ 10%, 30%, 40% และ 50%
W/V แล้ว ทำ การ วัด อุณหภูมิ เปรียบ เทียบ และ ทดสอบ โดย นำ IP ไป ใช้ ใน การ บรรจุ หีบ ห่อ Fresh Frozen Plasma (FFP) และ cryoprecipitate
 จำนวน 20 และ 50ยูนิต ตาม ลำดับ ใน ที่ มี อุณหภูมิ ภาย นอก 25- 35 ํซ. และ ทดสอบ การ นำ ไป ใช้ งาน ใน สภาวะ การ ขนส่ง
จริง โดย จัด ส่ง FFP จำนวน 20ยูนิต ไป ยัง ภาค บริการ โลหิต แห่ง ชาติ จังหวัด ลพบุรี ทาง รถ โดยสาร ประจำ ทาง ผล การ ศึกษา : IP
ที่เตรียม ขึ้น มี น้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม ต่อ ขวด ภาย ใน บรรจุ น้ำ เกลือ ที่ มี ปริมาณ เกลือ 40% W/V (Ice Pack C : IPC) สามารถ ทำ อุณหภูมิ
ได้ ต่ำ สุด ต่อ ขวด คือ -22.6 ํซ. และ รักษา อุณหภูมิ ได้ ดี โดย ใน นาที ที่ 30 ยัง สามารถ รักษา อุณหภูมิ ได้ ที่ -22.0 ํซ. ใน การ บรรจุ หีบ ห่อ FFP
จำนวน 20ยูนิตต่อ กล่อง ใช้ IPC จำนวน 7 ขวด โดย ทดสอบ 3 ครั้ง พบ ว่า สามารถ รักษา อุณหภูมิ ของ FFP ได้ ต่ำ กว่า -18.0 ํซ. ได้
นาน 13- 14 ชั่วโมง อุณหภูมิ เฉลี่ย ภาย ใน กล่อง -23.2 ถึง -23.8 ํซ และ อุณหภูมิ เฉลี่ย ภาย นอก กล่อง 29.7- 30.6 ํซ และ ใน การ บรรจุ หีบ
ห่อ cryoprecipitate จำนวน 50ยูนิตต่อ กล่อง ใช้ IPC จำนวน 8 ขวด โดย ทดสอบ 3 ครั้ง พบ ว่า สามารถ รักษา อุณหภูมิ ของ cryoprecipitate
 ได้ ต่ำ กว่า -18.0 ํซ. ได้ นาน 16- 22 ชั่วโมง อุณหภูมิ เฉลี่ย ภาย ใน กล่อง -22.1 ถึง -22.6 ํซ และ อุณหภูมิ เฉลี่ย ภาย นอก กล่อง
29.0- 31.9 ํซ. และ สามารถ ใช้ ใน สภาวะ การ ขนส่ง จริง เป็น เวลา 7 ชั่วโมง อุณหภูมิ เฉลี่ย ของ FFP ระหว่าง ขนส่ง อยู่ ที่ -25.4 ํซ. ซึ่ง ผ่าน
เกณฑ์ มาตรฐาน และ ส่วน ประกอบ โลหิต มี สภาพ ดี ไม่ แตก หัก และ ไม่ ละลาย สรุป : IPC สามารถ นำ ไป ใช้ ใน การ รักษา อุณหภูมิ ของ
ส่วน ประกอบ โลหิต ประเภท พลาสมา แช่ แข็ง ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ได้ อย่าง มี ประสิทธิภาพ ตาม เกณฑ์ มาตรฐาน อุณหภูมิ ที่ องค์การ อนามัย
โลก กำหนด ตลอด ระยะ เวลา การ ขนส่ง สามารถ นำ มา ใช้ ทดแทน dry ice ได้ ซึ่ง IPC นี้ ธนาคาร เลือด ของ โรงพยาบาล หน่วยงาน หรือ
องค์กร ต่างๆ สามารถ เตรียม ได้ เอง จาก วัสดุ ที่ หา ง่าย เตรียม ง่าย มี ความ ปลอดภัย ต่อ ผู้ ปฏิบัติ งาน และ ส่วน ประกอบ โลหิต ที่ ขนส่ง ทนทาน
และ สามารถ นำ กลับ มา หมุน เวียน ใช้ ซ้ำ ได้ อีก จึง เป็น การ ลด ค่าใช้จ่าย ใน การ ขนส่ง อย่าง มาก

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-06-27

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)