ผลการเสริมธาตุเหล็กแก่ผู้บริจาคโลหิตที่มีภาวะความเข้มโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์ ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
Keywords:
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, การเสริมธาตุเหล็ก, การบริจาคโลหิต, Iron deficiency anemia, Blood donor, Iron supplementAbstract
บทคัดย่อ
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสำคัญที่มักพบในผู้บริจาคโลหิต วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของการเสริมด้วยเฟอรัสซัลเฟต ( ธาตุเหล็ก 65 มิลลิกรัม) วันละ 1 เม็ด ทุกวัน เป็นเวลา 1 เดือนแก่ผู้บริจาคโลหิตที่ตั้งใจมาบริจาคแต่มีเลือดจาง คือ ค่าฮีโมโกลบิน (Hb) ต่ำกว่าเกณฑ์ จึงถูกปฏิเสธไม่รับบริจาคและประเมินประสิทธิภาพ การตรวจ วัดระดับ Hb ด้วยเครื่อง HemoCue เทียบ กับ เครื่อง นับ เม็ด เลือด อัตโนมัติ (electronic cell counter) วิธีการ โดยการวัดค่า Hb, ขนาด เฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง (MCV และปริมาณเฉลี่ยฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCH) ก่อนและหลังการเสริมธาตุเหล็ก และดูอัตราส่วนของผู้บริจาคโลหิตที่สามารถกลับมาบริจาคได้อีกครั้ง หลังได้รับการเสริมธาตุ เหล็กจำนวนนี้ โดยใช้ กณฑ์ ค่า Hb ≥ 12 กรัม/ เดซิลิตร (g/dL) ในเพศหญิง และ ≥ 13 g/dL ใน เพศชาย ผลการศึกษา อาสาสมัคร จำนวน 301 คน เป็นเพศหญิง 262 คน (ร้อยละ 87.0) และเพศชาย 39 คน (ร้อยละ 13.0) เมื่อครบหนึ่งเดือน สามารถติดตามผู้บริจาคที่กลับมาบ ริจาคใหม่ได้ 148 คน ( ร้อยละ 49.0) เป็นชาย 22 คน หญิง 126
คน พบว่า หลังการเสริมธาตุเหล็กผู้บริจาคโลหิต ชาย 22 คนนี้ มีค่าเฉลี่ย Hb เพิ่มขึ้น จาก 12.7± 1.1 เป็น 13.3±1.3 g/dL และ ค่า MCV เพิ่มขึ้นจาก 77.4± 7.2 เป็น 80.1±7.8เฟมโต ลิตร (fL) (p < 0.01) ค่า MCH เฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 24.7±3.6 เป็น 25.1±3.7พิคโคกรัม (pg) (p = 0.523) และ มี 12 ราย ( ร้อยละ 54.5) ที่มีค่า Hb ≥ 13 g/dL สามารถบริจาค โลหิต ได้ ส่วนผู้บริจาคหญิง 126 คน ที่กลับมาบริจาคโลหิตใหม่ มีค่าเฉลี่ย Hb เพิ่ม ขึ้น จาก 11.2± 0.8 เป็น 11.9±0.7 g/dL ค่า MCV เฉลี่ย เพิ่มขึ้นจาก 80.2±7.7 เป็น 84.2±8.0 fL และ ค่า MCH เฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 26.0±3.3 เป็น 26.6±3.2 pg (p < 0.01) สามารถบริจาคโลหิต ได้ 62 คน ( ร้อยละ 49.2) ความ สัมพันธ์ของ ค่า Hb ที่ วัดโดยเครื่อง HemoCue และเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ (ใช้เลือดจากเส้นเลือดดำ) พบว่า ทั้งสองวิธีมีความ สัมพันธ์เชิงเส้นที่ดี (r = 0.931, p < 0.01) สรุป การเสริมธาตุเหล็ก วันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 30 วัน สามารถทำให้ผู้บริจาคที่ถูกปฏิเสธสามารถกลับมาบริจาคโลหิตได้อีกครั้งหนึ่ง และสามารถใช้ HemoCue ในการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางเบื้องต้นแทนการ ตรวจ CBC ได้ดี