ความต้องการส่วนประกอบของเลือดของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกี

Authors

  • อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์
  • กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ
  • พิมพรรณ กิจพ่อค้า
  • รุ่งนภา อุดมชัยสกุล
  • สุธี ยกส้าน
  • สิริพรรณ กิจกรพันธ์

Keywords:

ติดเชื้อไวรัสเดงกี, การรับเลือด

Abstract

บทคัดย่อ 

ศึกษาความต้องการส่วนประกอบของเลือดของผู้ป่วยเด็ก 694 ราย (DF 229 ราย, DHF 465 ราย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 ถึงเดือนธันวาคม 2550 เป็นเวลา 7 ปีครึ่ง ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 11 ปี แยกผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม 1 (n=68) เป็นผู้ป่วยที่มี risk factor เช่น โรคธาลัสซีเมีย ได้รับยา ibuprofen ที่เสี่ยงต่ออาการเลือดออกหรือโรคไข้เลือดออกที่รุนแรงและกลุ่ม 2 (n=626) เป็นผู้ป่วยที่ไม่มี risk factor พบว่ามีความต้องการส่วนประกอบของเลือดร้อยละ 7.1 (49/694) ของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มี risk factor (ร้อยละ 48.5) ซึ่งสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่มี risk factor (ร้อยละ 2.6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.0001) ผู้ป่วยที่มี risk factor ที่ต้องได้รับส่วนประกอบของเลือดมีความรุนแรงของภาวะติดเชื้อไวรัสเดงกีตั้งแต่ DF ถึง DHF เกรดต่างๆ ในขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่มี risk factor ที่ต้องการส่วนประกอบของเลือดเป็นผู้ป่วย DHF เกรด 3 และ 4 เท่านั้น ผู้ป่วยที่ต้องได้รับส่วนประกอบของเลือดทั้งหมดมีอาการเลือดออกมากกว่า และตรวจพบว่ามีภาวะซีดรุนแรงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ต้องรับส่วนประกอบของเลือด แต่ปริมาณเกล็ดเลือดของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน อยู่ระหว่าง 20,000-60,000/มคล. นอกจากนี้ อัตราการขอและการใช้ส่วนประกอบทุกชนิดของผู้ป่วยที่มี risk factor เท่ากับ 1.5 ต่อ 1 ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่มี risk factor (3:1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.0001) แต่อัตราการขอและการใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มเท่ากับ 1:1 และมีผู้ป่วย DHF เกรด 3 และ 4 จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.4 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับ recombinant activated factor VII เพื่อหยุดอาการเลือดออกรุนแรง ผู้ป่วยรอดชีวิต 11 ราย และเสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นอัตราตายเท่ากับร้อยละ 0.86 (6/694)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-06-27

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)