ความชุกของพาหะ Alpha-thalassemia ของอาสาสมัครบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา

Authors

  • เนรัฐชลา สุวรรณคนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธีรภัทร ศรีรัตนโชติ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ขวัญฤดี มหิงษา หน่วยธาลัสซีเมีย สถาบันมนุษย์พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปฐมพงศ์ นามวงศ์ หน่วยธาลัสซีเมีย สถาบันมนุษย์พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี หน่วยธาลัสซีเมีย สถาบันมนุษย์พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

ความชุก, พาหะอัลฟาธาลัสซีเมีย, ุคลากรวัยเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยพะเยา, Prevalence, Alpha thalassemia trait, Reproductive age personals, University of Phayao

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา Alpha (á)-thalassemia เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงที่พบบ่อยในเขตภาคเหนือ อาจส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการ hydrops fetalis กับทารกในครรภ์และมักเสียชีวิตทุกราย โรค á-thalassemia เกิดได้จากการรวมตัวของยีน á-thalassemia หลายชนิด การให้บริการในการตรวจชนิดต่างๆ ของการกลายพันธุ์ของ á-thalassemia ก่อนการมีบุตร จะสามารถทำให้ผู้รับบริการที่เป็นพาหะ นำผลการตรวจที่ได้ไปประกอบการวางแผนครอบครัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความชุกของพาหะ á-thalassemia ชนิดต่างๆ ของอาสาสมัครบุคลากรที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยพะเยา และให้บริการให้คำปรึกษาในโครง การการป้องกันการมีบุตรเป็นโรค á-thalassemia วัสดุและวิธีการ ตัวอย่าง DNA 123 ตัวอย่าง จากอาสาสมัครฯ ถูกนำไปตรวจ á-thalassemia mutations ชนิดต่างๆได้แก่ á0-thalassemia ชนิด Southeast Asian (--SEA) deletion และชนิด Thai deletion (--Thai) ด้วยเทคนิค multiplex real-time PCR (q-PCR) โดยใช้ fluorescence dye SYTO9 และการตรวจ á+-thalassemia ชนิด -á3.7 และ -á4.2 deletions ด้วยเทคนิค relative gene quantification real-time PCR และใช้เทคนิค high resolution DNA melting (HRM) analysis ในการตรวจ hemoglobin Constant Spring (Hb CS, CD142 TAA->CAA) ซึ่งเป็น non-deletion á+-thalassemia อาสาสมัครทุกรายได้รับการแจ้งผลเป็นบันทึกข้อความ สำหรับรายที่เป็นพาหะได้รับบริการ thalassemia counseling เพื่อความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรคธาลัสซีเมีย ผลการศึกษา พบผู้เป็นพาหะ á0-thalassemia ชนิด --SEA จำนวน 16 ราย (ร้อยละ 13) พาหะ á0-thalassemia ชนิด --Thai จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 0.8) พาหะ á+-thalassemia ชนิด -á3.7 deletion จำนวน 18 ราย (ร้อยละ 15) พาหะ á+-thalassemia ชนิด -á4.2 deletion จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 1.6) พาหะ Hb CS จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 5) พบผู้ที่เป็น homozygous -á3.7 deletion จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 2.4) เป็น compound heterozygous -á3.7 deletion/ Hb CS จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 1.6) และพบ HbH disease ชนิด á0(--SEA)/á+(-á3.7) จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 2.4) เมื่อคำนวณเป็น ความถี่ของยีนแต่ละชนิดพบว่า ความถี่ของยีน á0-thalassemia เท่ากับ 0.081 ความถี่ของยีน á+-thalassemia เท่ากับ 0.126 และ ความถี่ของยีน Hb CS เท่ากับ 0.033 เมื่อได้รับคำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ของโรคธาลัสซีเมียแล้ว อาสาสมัครมีความเข้าใจการป้องกัน โรคธาลัสซีเมียมากขึ้น สรุป การศึกษาครั้งนี้เป็นการตรวจ DNA จากเลือดโดยตรงทั้งนี้เป็นเพราะ á+-thalassemia trait ยังไม่มี วิธีตรวจคัดกรองที่เหมาะสม จากผลการตรวจพบว่ามี á-thalassemia gene ชนิดต่างๆ ในอัตราที่สูง เมื่อนำมาคำนวณตามทฤษฎี ของ Hardy-Weinberg พบว่าคู่สมรส 1,000 คู่ อาจให้บุตรเป็นโรค homozygous á

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

เนรัฐชลา สุวรรณคนธ์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ธีรภัทร ศรีรัตนโชติ, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ขวัญฤดี มหิงษา, หน่วยธาลัสซีเมีย สถาบันมนุษย์พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ปฐมพงศ์ นามวงศ์, หน่วยธาลัสซีเมีย สถาบันมนุษย์พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี, หน่วยธาลัสซีเมีย สถาบันมนุษย์พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)