ความสำคัญของการทดสอบความเข้ากันได้ด้วยวิธีโฟลไซโตเมทรีซ้ำก่อนผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต ณ โรงพยาบาลศิริราช

Authors

  • ปาริชาติ เพิ่มพิกุล ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กฤษดา โคกตาทอง ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ยุบลรัตน์ ธนเขตไพศาล ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิชิตชัย บิณฑาประสิทธิ์ ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุทธิศักดิ์ แจ่มใส ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โกมล หลวงตระกูล ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศศิจิต เวชแพศย์ ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

Flow cytometry crossmatch, Living related kidney transplantation, Thailand

Abstract

บทคัดย่อ Flow cytometry lymphocyte crossmatch (FCXM) เป็นวิธีที่มีความไวสูงสุดวิธีหนึ่งในการตรวจ donor specific antibody (DSA) ห้องปฏิบัติการตรวจเนื้อเยื่อระดับซีโรโลยี โรงพยาบาลศิริราชได้นำ FCXM มาตรวจความเข้ากันได้ระหว่างผู้บริจาค ไตที่มีชีวิตกับผู้ป่วย (living related kidney transplantation, LRKT) ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2544 และคณะผู้ศึกษารายงานผล การตรวจ FCXM ในครั้งแรกและการตรวจซ้ำ ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการปลูกถ่ายไต ที่มีการขอตรวจในระหว่างปี พ.ศ. 2550-2556

วัสดุและวิธีการ ทำการรวบรวมข้อมูลย้อนหลังใน LRKT ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ประกอบ ด้วยข้อมูลทั่วไป อายุ เพศ หมู่เลือด จำนวนความแตกต่างของ HLA ระหว่างผู้ป่วยกับ ผู้บริจาคไต รวมทั้งระยะเวลาระหว่างการ ตรวจครั้งแรกและการตรวจซ้ำ

ผลการศึกษา ในระหว่างปี พ.ศ. 2550-2556 มีการขอตรวจ LRKT จำนวน 388 ราย และ ขอทำ FCXM ซ้ำจำนวน 216 ราย ผลการ ตรวจ FCXM ทั้งสองครั้งเป็นลบจำนวน 199 ราย (92.1%) และมีจำนวน 17 ราย (7.9%) ที่ FCXM ให้ผลแตกต่างกันคือ FCXM ให้ผลลบในครั้งแรกแต่ให้ผลบวกในครั้งหลังกับ T cells และ B cells อย่างละ 3 ราย FCXM ให้ผลบวก กับ T cells และ B cells ในครั้งแรกแต่ให้ผลลบในครั้งหลังจำนวน 3 ราย และ 7 ราย ตามลำดับ และมีอีก 1 รายที่ B cells FCXM ให้ผลบวกทั้งสองครั้ง

สรุป การศึกษานี้เป็นการรายงานผล FCXM ของการทำLRKT เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยหลายรายที่การตรวจ FCXM ซ้ำก่อนผ่าตัดปลูกถ่ายไต ที่เคยมีผลลบกลับมีผลบวก จึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความสำคัญทางคลินิกต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ปาริชาติ เพิ่มพิกุล, ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

กฤษดา โคกตาทอง, ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ยุบลรัตน์ ธนเขตไพศาล, ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วิชิตชัย บิณฑาประสิทธิ์, ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

สุทธิศักดิ์ แจ่มใส, ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

โกมล หลวงตระกูล, ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศศิจิต เวชแพศย์, ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)