เกณฑ์การจัดสรรไตเพื่อให้โอกาสกับผู้ป่วย Highly HLA-sensitized ได้รับการปลูกถ่ายไต

Authors

  • ภาวิณี คุปตวินทุ ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • อารยา ตัตวธร ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ศิริลักษณ์ เพียรเจริญ ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • นุจนันท์ โชคทวีศักดิ์ ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • อ้อยทิพย์ ณ ถลาง ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ยุวดี อรรถจารุสิทธิ์ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • สุดารัตน์ วิบูลย์ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • ศุภสิริ อุ่นใจ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
  • วิศิษฎ์ ฐิตวัฒน์ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

Keywords:

Allocation criteria, Deceased donor, Donor-specific antibody, Highly HLA-sensitized

Abstract

บทคัดย่อ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะและ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เริ่มต้นการจัดสรรไตตามเกณฑ์ของ The United Network for Organ Sharing (UNOS) และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้เริ่มใช้เกณฑ์การจัดสรรไต ครั้งที่ 4 ซึ่งได้รับการแก้ไข จากคณะอนุกรรมการวิชาการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย โดยให้โอกาสผู้ป่วยที่มีแอนติบอดีต่อ HLA ตรงกับแอนติเจน HLA ของผู้บริจาค ได้รับคัดเลือกมาทดสอบ HLA crossmatching การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสของผู้ป่วย highly HLA-sensitized กับการได้รับไตจากผู้บริจาคสมองตาย เมื่อใช้เกณฑ์การจัดสรรไตในปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จากฐานข้อมูลของศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ซึ่งมีผู้บริจาคไตสมองตาย จำนวน 77 ราย และศึกษาข้อมูลจากแบบฟอร์มการเลือกผู้ป่วยของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 2,437 ราย นำข้อมูลการคัดเลือกผู้ป่วยมาคำนวณโอกาสในการที่ผู้ป่วย highly HLA-sensitized จะได้รับการตรวจ HLA crossmatching แต่ละครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วย จำนวน 735 ราย ที่ถูกคัดเลือกให้ทำ HLA crossmatching แบ่งเป็น กลุ่มผู้ป่วย Panel Reactive Antibodies (PRA) ลบจำนวน 376 ราย โดยมี Donor-Specific Antibody (DSA) บวกจำนวน 6 ราย (1.6%) PRA ≥ 50% จำนวน 278 ราย ซึ่งมีผล DSA บวก จำนวน 207 ราย (74.5%) และ PRA < 50% จำนวน 81 ราย มีผล DSA บวก จำนวน 16 ราย (19.8%) ตามลำดับ เมื่อศึกษาผล HLA crossmatching ในกลุ่ม highly HLA-sensitized จำนวน 278 ราย (PRA ≥ 50%) พบว่า HLA crossmatching ให้ผลบวกต่อแอนติบอดีชนิด IgG จำนวน 176 ราย (63.3%) และไม่ได้รับการปลูกถ่ายไต มีผู้ป่วย จำนวน 40 ราย (14.4%) ที่มีแอนติบอดีชนิด IgM เป็นผู้ป่วยที่ DSA บวก จำนวน 26 ราย และ DSA ลบ จำนวน 14 ราย ได้รับ การปลูกถ่ายไต จำนวน 10 ราย สำหรับผู้ป่วยที่ HLA crossmatching ให้ผลลบ จำนวน 62 ราย (22.3%) มี DSA บวก จำนวน 41 ราย และ DSA ลบ จำนวน 21 ราย แต่ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายไต จำนวน 27 ราย ดังนั้นผู้ป่วย highly HLA-sensitized ที่ PRA > 50% จำนวน 278 ราย มีโอกาสได้รับการปลูกถ่ายไตตามเกณฑ์การจัดสรรไตปัจจุบันทั้งหมด 37 ราย จากไตบริจาคทั้งหมด 145 ไต (25.5%) โดยสรุปเกณฑ์การจัดสรรไตในปัจจุบันได้เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วย highly HLA-sensitized ที่มี DSA ได้รับโอกาสใน การตรวจ HLA crossmatching และได้รับไตเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการติดตามอัตราการอยู่รอดของไต (graft survival) ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ในระยะยาว เพื่อดูผลการปลูกถ่ายไตและพิจารณาเกณฑ์การจัดสรรไตที่เหมาะสมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ภาวิณี คุปตวินทุ, ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

อารยา ตัตวธร, ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ศิริลักษณ์ เพียรเจริญ, ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

นุจนันท์ โชคทวีศักดิ์, ฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

อ้อยทิพย์ ณ ถลาง, ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ยุวดี อรรถจารุสิทธิ์, ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

สุดารัตน์ วิบูลย์, ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

ศุภสิริ อุ่นใจ, ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

วิศิษฎ์ ฐิตวัฒน์, ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)