แอนติบอดีในผู้บริจาคโลหิตซึ่งตรวจด้วยวิธีหลอดทดลองมาตรฐานและวิธีเจล:การศึกษาเพื่อความปลอดภัยของโลหิตบริจาค
Keywords:
ผู้บริจาคโลหิต, การตรวจกรองแอนติบอดี, ชนิดแอนติบอดี, วิธีหลอดทดลองมาตรฐาน, วิธีเจล, Blood donors, Antibody screening, Antibody specificity, Standard tube test, Gel testAbstract
บทคัดย่อ: Microcolumn gel agglutination เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบทางซีโรโลยีของเม็ดโลหิตแดง เนื่องจากเป็นวิธีการทดสอบที่ทำง่าย สะดวก แต่มีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับวิธีหลอดทดลองมาตรฐาน (standard tube test; STT) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหาความชุกของแอนติบอดีต่อแอนติเจนของเม็ดโลหิตแดงในผู้บริจาคโลหิต และเปรียบเทียบความสอดคล้องของการตรวจกรองแอนติบอดี ระหว่างวิธีหลอดทดลองมาตรฐาน และวิธีเจล (DG Gel: Diagnostic Grifols, Barcelona, Spain) ในผู้บริจาคโลหิต โรงพยาบาลขอนแก่น ผลการศึกษา การตรวจกรองแอนติบอดีในผู้บริจาคโลหิต 929 ราย โดยไม่ซ้ำตัวบุคคล พบว่า STT ให้ผลบวก 40 ราย (4.31%) DG Gel ให้ผลบวก 15 ราย (1.61%) ทั้ง 2 วิธี ให้ผลบวกสอดคล้องกัน 15 ราย ประกอบด้วย anti-Lea 5 ราย anti-Mia 4 ราย anti-Lea+Leb 3 ราย anti-Leb 1 ราย anti-D 1 ราย และ anti-Leb+Mia 1 ราย ให้ผลบวกเฉพาะ STT อย่างเดียว 25 ราย ประกอบด้วย anti-P1 12 ราย anti-Lea 7 ราย anti-Lea+Leb 4 ราย และ anti-Leb 2 ราย ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า STT มีความไวมากกว่า DG Gel ในการตรวจพบแอนติบอดีชนิด IgM (p = 0.0006) โดย STT พบความชุกของการตรวจพบแอนติบอดีร้อยละ 4.31 ในขณะที่ DG Gel พบความชุกร้อยละ 1.61 DG Gel มีข้อจำกัดในการตรวจหา anti-P1 ทั้ง 12 ราย และแอนติบอดีของระบบ Lewis บางราย ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่พบได้บ่อยในประชากรไทย เนื่องจากมีความชุกของแอนติเจน P1 negative สูงถึงร้อยละ 77 และ Le(a-b-) ร้อยละ 30 ถึงแม้ว่าแอนติบอดีกลุ่มนี้จะมีความสำคัญทางคลินิกน้อย แต่ถ้าทำปฏิกิริยาที่ 37 ํC ได้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้พลาสมาปริมาณมาก หรือ single donor platelet แก่ผู้ป่วยที่มีแอนติเจนจำเพาะกับแอนติบอดีในโลหิตบริจาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก