การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ CD4 กับความผิดปกติของไขกระดูกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Keywords:
CD4 cell counts, Bone marrow findings, HIV infectionAbstract
บทคัดย่อ ความผิดปกติทางโลหิตวิทยาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย การศึกษาที่ ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะมีความผิดปกติทางโลหิตวิทยาและไขกระดูกมากกว่า ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในไขกระดูก การสร้างเม็ดเลือดที่ผิดปกติ ภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดตนเอง ภาวะขาดสารอาหารและผลจากยาที่ใช้ในการรักษา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของระดับ CD4 และปัจจัยทางคลินิกต่อความผิดปกติของไขกระดูกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงข้อบ่งชี้ในการตรวจไขกระดูกในผู้ป่วยเอชไอวีที่มีความผิดปกติทางโลหิตวิทยา วัสดุและวิธีการ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ได้รับการตรวจไขกระดูกในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ระหว่าง 2548ถึง พ.ศ.2553โดยบันทึกข้อมูลทางคลินิก รวมถึงระดับ CD4 และนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติที่ตรวจพบในไขกระดูก ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งสิ้น 185 คน อายุเฉลี่ย 41 ปี (พิสัย 24-75 ปี) ผู้ป่วยมีไข้และ หรือเม็ดเลือดต่ำร้อยละ 84.3มีภาวะ bicytopenia/pancytopenia ร้อยละ 48พบความผิดปกติของไขกระดูกในผู้ป่วย77 คน (ร้อยละ 41.6) ได้แก่ dyshemopoiesis 41 คน (ร้อยละ 22.1) การติดเชื้อในไขกระดูก 23คน (ร้อยละ 12.4) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแพร่กระจาย 5 คน (ร้อยละ 2.7) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อในไขกระดูก ได้แก่ ระดับ CD4 ที่ต่ำกว่า 50เซลล์/ไมโครลิตร [OR 5.5 (95%CI: 1.21-25.46), p-value = 0.02] ภาวะตับม้ามโต [OR 4.16 (95%CI: 1.40-12.34), p-value = 0.010] และไข้ที่สูงกว่า 38.5 ํซ. [OR 3.90(95%CI: 1.06-14.28), p-value = 0.040] ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อราชนิดแพร่กระจาย และ non-tuberculous mycobacterium พบการติดเชื้อจากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพียงหนึ่งในสามของผู้ป่วยเท่านั้น สรุป ความผิดปกติของไขกระดูกโดยเฉพาะการติดเชื้อในไขกระดูกมีความสัมพันธ์กับ CD4 ที่ต่ำกว่า 50เซลล์/ไมโครลิตรภาวะตับม้ามโตและการมีไข้สูงซึ่งเปนข้อบ่งชี้สำคัญในการตรวจไขกระดูก การตรวจพบการเชื้อราและ acid fast bacilli จากกล้องจุลทรรศน์พบความไวเพียงร้อยละ 30 ในการวินิจฉัยdisseminated fungal and mycobacterium infection อย่างไรก็ตามการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ยังมีความจำเป็นโดยเฉพาะหากตรวจพบการติดเชื้อสามารถเริ่มการรักษาได้ทันทีโดยไม่ต้องรอผลเพาะเชื้อซึ่งใช้เวลานานKey Words : CD4 cell counts; Bone marrow findings; HIV infection
วารสาร โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2556;23:283-91.
Downloads
Download data is not yet available.