การศึกษาชนิดและสัดส่วนของ Beta Thalassemia Mutation ในจังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • ปริศนา เจริญพร หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พีระพล วอง หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สายศิริ มีระเสน ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พันธุ์ชนะ สงวนเสริมศรี ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สวิชญาพร เจิมนิ่ม หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สุขุมาล นิยมธรรม หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • หนึ่งฤทัย นิลศรี ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กุลนิษฐ์ แพงวังทอง หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

Beta globin mutation, Thalassemia, Phitsanulok

Abstract

บทคัดย่อ Homozygous beta thalassemia และ compound heterozygous hemoglobin E / beta thalassemia เป็นโรค beta thalassemia ที่เป็นปัญหาของประเทศไทย ข้อมูลสัดส่วนของ beta globin mutation แต่ละชนิดในเขตภาคเหนือตอนบนไม่อาจนำมาใช้ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเนื่องจากความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรกลุ่มย่อยแต่ละพื้นที่ ดังนั้นหากจังหวัดพิษณุโลกมีข้อมูลสัดส่วนของ beta globin mutation แต่ละชนิดในพื้นที่จะทำให้ห้องปฏิบัติการสามารถออกแบบวิธีการตรวจวินิจฉัย beta globin mutation ในระดับ DNA เบื้องต้นได้อย่างเหมาะสมและครอบคลุมชนิดของ beta globin mutation แต่ละชนิดในพื้นที่ วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาชนิดของ beta globin mutation ที่พบบ่อยในจังหวัดพิษณุโลก วัสดุและวิธีการ รวบรวมหญิงตั้งครรภ์ และ/หรือสามีที่อาศัยในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 100 คนที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น heterozygous beta thalassemia จากการวัดระดับ hemoglobin A2 โดยการตรวจด้วยวิธี Diethylaminoethyl Sephadex microcolumn chromatography หน่วยวิจัยธาลัส-ซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทำการตรวจหาชนิดของ beta globin mutation ด้วยวิธี DNA sequencingผลการศึกษา พบ beta globin mutation ชนิด codon 41/42 (-TCTT) มากที่สุดจำนวน 44 คน (ร้อยละ 44) รองลงมาเป็น codon 17 (AT) จำนวน 36 คน (ร้อยละ 36) -28 (AG) จำนวน 10 คน (ร้อยละ 10) IVS-I-1 (GT) จำนวน 4 คน (ร้อยละ 4) -87 (CA) จำนวน 2 คน (ร้อยละ 2) และพบ codon 35 (CA) codon 71/72 (+A) IVS-II-654 (CT) และ codon 41 (-C) อย่างละ 1 คน (ร้อยละ 1) ไม่พบ beta globin mutation ชนิดใหม่ในการศึกษานี้ สรุป จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า codon 41/42 (-TCTT) และ codon 17 (AT) เป็น beta globin mutation ที่พบเป็นสัดส่วนมากที่สุดรวมกันถึงร้อยละ 80 ของ beta globin mutation ที่พบทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบ -28 mutation เป็นอันดับสาม ถึงร้อยละ 10 ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากพื้นที่อื่น ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดรูปแบบวิธีการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดของ beta thalassemia ในเขตภาคเหนือตอนล่างต่อไป

Key Words : Beta globin mutation; Thalassemia; Phitsanulok

วารสาร โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2556;23:277-82.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ปริศนา เจริญพร, หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

พีระพล วอง, หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

สายศิริ มีระเสน, ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร

พันธุ์ชนะ สงวนเสริมศรี, ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร

สวิชญาพร เจิมนิ่ม, หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

สุขุมาล นิยมธรรม, หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

หนึ่งฤทัย นิลศรี, ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

กุลนิษฐ์ แพงวังทอง, หน่วยวิจัยธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)