การบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่งโลหิตและส่วนประกอบโลหิตด้วยกล่อง Expandable Polypropylene (EPP Box), Gel ทำความเย็น Butanediole Gel (BD gel) และ Gel Ice
Keywords:
Blood component, Transportation, Expandable polypropylene, Butanediole gelAbstract
บทคัดย่อ สภากาชาดฟินแลนด์และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดภูเก็ตได้ออกแบบกล่องผลิตจาก Expandable Polypropylene (EPP Box) ขนาด 430 x 330 x 460 mm gel ทำความเย็น Butanediole Gel (BD gel) และ Gel Ice สำหรับขนส่งโลหิตและส่วนประกอบโลหิต จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถูกต้องของกระบวนการขนส่ง ความเหมาะสมของรูปแบบและวิธีการบรรจุ พร้อมทั้งติดตามอุณหภูมิระหว่างการขนส่งโดยใช้ Data logger วัสดุและวิธีการ กล่องขนส่งโลหิต EPP Box และวัสดุทำความเย็น Butanediole Gel (BD gel) และ Gel Ice ซึ่งการขนส่ง whole blood (WB) และ Leukocyte Poor Platelet Concentrate (LPPC) ใช้ BD gel การขนส่ง Leukocyte Poor Packed Red Cells (LPRC) ใช้ Gel Ice ทำการทดสอบในอุณหภูมิภายนอกที่35 ํC ใช้ Data logger ในการบันทึกอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยการทดสอบ ใช้ WB 1 ยูนิต และ 12 ยูนิต ใช้ LPRC 1 ยูนิต และ 20 ยูนิต และทดสอบใช้LPPC 1 ยูนิต และ 14 ยูนิต ทำการจัดวางกล่องในอุณหภูมิ 35 ํC 24 ชั่วโมง โดยแต่ละการทดสอบทำซ้ำติดต่อกัน 3 ครั้ง และได้นำรูปแบบการบรรจุมาทดสอบขนส่งโลหิตจากการออกหน่วยเคลื่อนที่ที่เจาะเก็บโลหิตในจังหวัดภูเก็ต กระบี่และพังงา และใช้ขนส่งส่วนประกอบโลหิตประเภท LPRC และ LPPC ให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดกระบี่และพังงา ซึ่งใช้ระยะเวลา 3-5 ชั่วโมง ขนส่งส่วนประกอบโลหิตไปภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และขนส่งไปยังภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง ผลการศึกษา EPP Box และ BD gel สามารถควบคุมอุณหภูมิ WB ไว้ที่ 20-24 ํC ได้ 12 ชั่วโมง และควบคุมอุณหภูมิ LPPC ที่ 20-24 ํC ได้ 10 ชั่วโมง และ Gel Ice ควบคุมอุณหภูมิ LPRC ไว้ที่ 1-10 ํC ได้ 14 ชั่วโมง และได้นำกล่องมาทดสอบขนส่งโลหิตจากการออกหน่วยเคลื่อนที่ที่เจาะเก็บโลหิตในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา พบว่ากล่อง EPP Box สามารถเก็บ WB ให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิ 20-24 ํC ได้ตลอดการขนส่ง 5-8 ชั่วโมง และใช้ขนส่งส่วนประกอบโลหิตประเภท LPRC และ LPPC ให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดกระบี่และพังงา ซึ่งใช้ระยะเวลา 3-5 ชั่วโมง และขนส่งไปภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และขนส่งไปยังภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถควบคุมอุณหภูมิ LPRC ให้อยู่ในช่วง 1-10 ํC และสามารถควบคุมอุณหภูมิ LPPC ให้อยู่ในช่วง 20-24 ํC ได้ตลอดการขนส่ง สรุป กล่องขนส่งโลหิต โดยใช้ EPP Box และ BD gel สามารถควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมในการขนส่งโลหิตและเกล็ดโลหิตให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิ 20-24 ํC และ Gel Ice สามารถควบคุมอุณหภูมิเม็ดโลหิตแดงให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิ 1-10 ํC ได้ตลอดการขนส่ง 12 ชั่วโมง 10 ชั่วโมง และ 14 ชั่วโมงตามลำดับ เพื่อรักษาคุณภาพโลหิตและส่วนประกอบโลหิตให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งในปัจจุบันใช้งานจริงที่ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดภูเก็ต การขนส่งโลหิตจากหน่วยเคลื่อนที่จะติดตามอุณหภูมิในกล่องด้วย Data logger ทุกกล่อง สำหรับการขนส่งส่วนประกอบโลหิต จะมีการติดตามอุณหภูมิโดยเอกสารการตอบกลับจากโรงพยาบาล และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ในแต่ละเดือนจะมีการสุ่มติดตามอุณหภูมิโดยใส่ Data logger ในกล่องบรรจุโลหิตที่จัดส่ง พบว่าอุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน