ความชุกของการเกิดหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

Authors

  • นันทพร ศิวสรานนท์ หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อดิศักดิ์ ตันติวรวิทย์ หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เอกรัฐ รัฐฤทธิ์ธำรง หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชาตรี ชัยอดิศักดิ์โสภา หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วีรศักดิ์ นาวารวงศ์ หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

Thromboembolic events, Prevalence, Lymphoma, Risk factors

Abstract

บทคัดย่อ มะเร็งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันรวมถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่ข้อมูลความชุกของภาวะหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาไว้ วัสดุและวิธีการ การศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับความชุกและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีหลอดเลือดอุดตัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนมกราคม .. 2550 ถึงตุลาคม .. 2554 ผลการศึกษา ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 342 คน พบผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตัน 34 ราย ส่วนใหญ่มีภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (32 ราย) ความชุกของการเกิดภาวะหลอดเลือดดำและแดงอุดตัน คือร้อยละ 9.3 และ ร้อยละ 0.6 ตามลำดับ โดยมีภาวะ deep vein thrombosis (DVT) 28 ราย (ร้อยละ 87.5) ภาวะ pulmonary embolism (PE) 2 ราย (ร้อยละ 6.25) และ มีทั้ง DVT และ PE 2 ราย (ร้อยละ 6.25) ตำแหน่งที่เกิด DVT ส่วนใหญ่อยู่ที่รยางค์ส่วนล่าง(ร้อยละ 50) รองมาได้แก่หลอดเลือดดำในท้อง (portal/mesenteric vein ร้อยละ 16.7) และหลอดเลือดดำ venous sinus(ร้อยละ 13.3) ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตันส่วนใหญ่มีมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin lymphoma (NHL) ร้อยละ 94.1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิด B-cell โดยเฉพาะ diffuse large B-cell lymphoma (DLBCL) ร้อยละ 85.3 ผู้ป่วยมีระยะของโรคขั้นที่ 3-4 ร้อยละ 79.4 และมีระดับ LDH ที่สูงกว่าค่าปกติ ร้อยละ 94.3 ส่วนใหญ่พบหลอดเลือดอุดตันระหว่างให้การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง (ร้อยละ 50) และตั้งแต่แรกวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (ร้อยละ 41.2) จากการวิเคราะห์พหุตัวแปร พบว่าระยะของโรคเป็นปัจจัยเดียวที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน (odds ratio 24.9, 95%CI 2.9-208.2; p = 0.003) โดยอัตราการรอดชีวิตในผู้ที่มีและไม่มีหลอดเลือดอุดตันไม่แตกต่างกัน (ร้อยละ 45.8 กับ ร้อยละ 53.9 p = 0.24) สรุป ภาวะหลอดเลือดอุดตันโดยเฉพาะหลอดเลือดดำพบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี DLBCL ระยะโรคขั้นที่ 3-4 ครึ่งหนึ่งของภาวะหลอดเลือดอุดตันเกิดขึ้นระหว่างให้การรักษา จึงควรพิจารณาให้การป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันระหว่างให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

นันทพร ศิวสรานนท์, หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา, หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อดิศักดิ์ ตันติวรวิทย์, หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เอกรัฐ รัฐฤทธิ์ธำรง, หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ชาตรี ชัยอดิศักดิ์โสภา, หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วีรศักดิ์ นาวารวงศ์, หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)