ปฏิกิริยาจากการให้เลือดและความผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด

Authors

  • คงศักดิ์ อุไรรงค์ ฝ่ายอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย
  • ชื่นฤทัย ยี่เขียน ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

Keywords:

ปฏิกิริยาจากการให้เลือด, ความผิดพลาดที่เกี่ยวกับการให้เลือด, Transfusion reactions, Transfusion associated errors

Abstract

บทคัดย่อ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแนวโน้มของจำนวนการให้เลือดและจำนวนอุบัติการณ์ปฏิกิริยาจากการให้เลือด ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนอุบัติการณ์ปฏิกิริยาจากการให้เลือดกับชนิดผลิตภัณฑ์ของเลือดและศึกษาสาเหตุความผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปพัฒนาด้านความปลอดภัยของการให้บริการโลหิตและใช้เป็นข้อมูลในการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ โดยเก็บข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ปฏิกิริยาจากการให้เลือด (occurrence report of transfusion reactions) และรายงานความผิดพลาดที่เกี่ยวกับการให้เลือด (transfusion errors) ของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2554 ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ปฏิกิริยาจากการให้เลือด 392 ราย จากการให้เลือด 121,003 ยูนิต คิดเป็นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจากการให้เลือดร้อยละ 0.32 โดยจำแนกตามชนิดผลิตภัณฑ์ของเลือดได้ดังนี้ whole blood (WB), packed red cells (PRC), leukocyte poor packed red cells (LPRC), fresh frozen plasma (FFP) และ platelet concentrate (PC) ร้อยละ 1.88, 0.47, 0.17, 0.24, 0.08 ตามลำดับ จำนวนการให้เลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จาก 8,776 ยูนิต ในปี พ.ศ. 2545 เพิ่มขึ้นเป็น 16,244 ยูนิต ในปี พ.ศ. 2554 (p < 0.05) ในขณะที่จำนวนอุบัติการณ์ปฏิกิริยาจากการให้เลือดมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากร้อยละ 0.63 ในปี พ.ศ. 2545 เป็นร้อยละ 0.21 ในปี พ.ศ. 2554 (p < 0.05)

ในปฏิกิริยาจากการให้เลือดทั้งหมด 417 ราย พบ allergic reaction มากที่สุด ร้อยละ 72.2 คิดเป็น 1 : 400 ยูนิต รองลงมาเป็น febrile non-hemolytic transfusion reaction (FNHTR) ร้อยละ 26.0 คิดเป็น 1: 1,100 ยูนิต transfusion associated circulatory overload (TACO) ร้อยละ 1.4 คิดเป็น 1: 20,000 ยูนิต และ acute hemolytic transfusion reaction (AHTR)ร้อยละ 0.2 คิดเป็น 1: 76,000 ยูนิต เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าจำนวนการเกิด allergic reaction มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับจำนวนการใช้ WB อย่างมีนัยสำคัญ แต่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับจำนวนการใช้ LPRC และ PC อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนรายงานความผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด 193 ราย เกิดขึ้นที่หอผู้ป่วย 56 ราย (ร้อยละ 29.0) หน่วยรับบริจาคโลหิต 75 ราย (ร้อยละ 38.9) และธนาคารเลือด 62 ราย (ร้อยละ 32.1) จากการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาจากการให้เลือดใกล้เคียงกับผลการศึกษาที่เคยมีผู้รายงานไว้แล้ว สรุปผลการศึกษามีประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาจากการให้เลือดตามขั้นตอนการเตรียมและการให้เลือด รวมถึงการให้ความรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

คงศักดิ์ อุไรรงค์, ฝ่ายอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

ชื่นฤทัย ยี่เขียน, ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

Downloads

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)