การประเมินประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองแอนติบอดีต่อแอนติเจนของเม็ดโลหิตแดงด้วย Column Agglutination Technique โดยเครื่องอัตโนมัติในผู้บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Authors

  • อภิวันท์ พิพัฒน์วนิชกุล ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
  • อุษณีษ์ ชเนตต์มหรรฆ์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • เยาวลักษณ์ วิปสูงเนิน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ใจรัก ทองบุศย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • วรประภา อภัยกาวี ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • เกรียงศักดิ์ ไชยวงค์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • สิณีนาฏ อุทา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Keywords:

Column agglutination technique, Red cell antibodies, antibody screening

Abstract

บทคัดย่อ

บทนำ  การตรวจคัดกรองแอนติบอดีต่อแอนติเจนของเม็ดโลหิตแดง (antibody screening) โดยเทคนิค Column Agglutination Technique (CAT) ทดแทนวิธีหลอดทดลอง  ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเครื่องอัตโนมัติที่ใช้เทคนิค CAT มาใช้ในห้องปฏิบัติการทางธนาคารเลือดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนการทดสอบน้อย ผลการทดสอบมีความคงตัวสามารถทวนสอบผลการทดสอบได้  วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองแอนติบอดีต่อแอนติเจนของเม็ดโลหิตแดงของเครื่องตรวจอัตโนมัติที่ใช้เทคนิค CAT ในตัวอย่างพลาสมาของผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย  วัสดุและวิธีการ  นำตัวอย่างที่ทราบชนิดของแอนติบอดีแล้วจำนวน 120 ราย  และนำตัวอย่าง unknown sample  จำนวน 2,014 ราย  มาทำการทดสอบ antibody screening ด้วยเครื่องอัตโนมัติ Ortho Vision Max จากนั้นนำผลที่ได้เปรียบเทียบกับวิธีหลอดทดลองมาตรฐาน   ผลการศึกษา  จากการศึกษาในตัวอย่าง known positive sample จำนวน 120 ราย   พบว่าเครื่องตรวจอัตโนมัติ Ortho Vision Max สามารถตรวจพบแอนติบอดีได้ 119 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.17  แอนติบอดีที่ไม่สามารถตรวจพบได้ 1 ราย คือ anti-P1   สำหรับตัวอย่างที่เป็น unknown sample จำนวน 2,014 ราย  พบว่าเครื่องตรวจอัตโนมัติ Ortho Vision Max สามารถตรวจพบแอนติบอดีและตรวจแยกชนิดของแอนติบอดีได้จำนวน 55 ราย   จากจำนวนตัวอย่างที่ทราบชนิดของแอนติบอดีแล้วโดยวิธีหลอดทดลองทั้งหมด 60 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.67   ตัวอย่างที่ไม่สามารถตรวจพบได้คือ anti-P1  3 ราย และ anti-Leb  2 ราย   สรุป  การทดสอบด้วยวิธี CAT โดยใช้เครื่องอัตโนมัติเป็นการทดสอบที่มีประสิทธิภาพสามารถนำมา ใช้ในงานประจำที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ  สภากาชาดไทยและในธนาคารเลือดของโรงพยาบาลต่างๆ ได้

Abstract:

Background: Automated column agglutination technique automation was developed for pretransfusion tests to replace conventional tube test. The Column Agglutination Technique (CAT) is a reliable and high efficient method. It was reported that it has the same sensitivity as conventional tube test for antibody screening.  Recently, column agglutination technique automation platforms  have become widely used for red cell antibody detection in hospital blood banks in Thailand. Objective:  To evaluate the performance of column agglutination technique automated platforms in the detection of red cell alloantibodies in blood donors at National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Materials and Methods: One hundred and twenty known positive samples and 2,014 unknown samples were tested in parallel by standard tube test and Ortho Vision Max Automation. Results: From 120 known positive sample, 119/120 (99.17%) sera were detected by Ortho Vision Max. There was only 1 sample (Anti-P1) that could notbe detected by Ortho Vision Max. From a total of 2,014 unknown samples, 60 samples were reported positive by standard tube test. Ortho Vision Max reported positive results 55/60 (91.67%). There were 5 samples which could not be detected by Ortho Vision Max. There were 3 anti-P1 and  2 anti-Leb. Conclusion: The column agglutination technique automation is appropriate for red cell alloantibody detection in a routine laboratory at the National Blood Centre, Thai Red Cross Society and the hospital blood banks.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-06-21

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)