ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชนในเขตตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จุฑารัตน์ ชื่นใจ
สุทธิชัย ศิรินวล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ (survey Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในเขตตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ประชากรคือ ประชาชนอายุ 18 ปี ถึง 59 ปี ในพื้นที่ตำบลต้า  อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 360 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Correlation Coefficient, Biserial Correlation และ Multiple Regression Analysis


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.10) อยู่ในช่วงอายุ           30 – 44 ปี (ร้อยละ 37.00) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 49.40) ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 32.50) ประกอบอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 32.50) รายได้เฉลี่ย 10,000 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 28.30) ภาระหนี้สินต่ำกว่า 5,000 (ร้อยละ 70.00) ได้รับผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้านการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน (ร้อยละ  28.30) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 85.00) มีความรู้อยู่ในระดับดี ( =12.10, SD.=3.32) มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 75.83) มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 73.89) มีสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 76.95) มีการเข้าถึงแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 72.20)    มีแรงสนับสนุนทางสังคมและครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 72.22) มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับ 2 (ร้อยละ 24.00) และปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในเขตตำบลต้าได้ร้อยละ 17.40 ได้แก่ เพศชาย การเข้าถึงแอลกอฮอล์ และแรงสนับสนุนทางสังคมและครอบครัว (R² = 0.174 , Adj.R² =0.167, F =25.008, Sig < 0.001**)

Article Details

How to Cite
1.
ชื่นใจ จ, ศิรินวล ส. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชนในเขตตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. JDPC3 [อินเทอร์เน็ต]. 27 สิงหาคม 2024 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];18(2):145-5. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/266526
บท
OriginalArticle

References

Centre For Alcohol Studies 2022: Report on the status of alcoholic beverages in Thai society for the year 2023 (EBOOK-situation-64) (Internet) https://cas.or.th/?p=10465

World Health Organization (WHO) (2017): Alcohol :(Internet) https://www.who.int/

Department of Health Service Support, Ministry of Public Health ,Chang Behavior ,Health Education Division , (Internet): https://www.nupress.grad.nu.ac.th/

ThaiHealth Health promotion (Internet): https://www.thaihealth.or.th/

Health Education Division (2020), Strategies for promoting health literacy and health behavior (Internet) http://www.hed.go.th/

Pranate Health Promoting Hospital,JHCIS Progarm Health consumer Protection 2021

AUDIT (alcohol use disorder identification test or AUDIT) World Health OrganizationDepartment of Mental Health and Substance Dependence 2001(Internet): https://dmh-elibrary.org/items/show/1209

Narong Chaitiang. The factors Associated with Alcohol Consumption Behavior among People in Phayao Province: University of Phayao: Journal of Safety and Health: Vol. 12 No. 2 May-August : 2019

Sujitta Ritmontree. Alcohol drinking behavior in a community of Kalasin province [dissertation] : Khon Kaen University :2021

Siwhuay Saelim. Factors Related to Alcohol Drinking Behavior of Adolescents: Faculty of Nursing: Mahidol University, Nakhon Pathom :2015

Phumesh Thammakhaphi.Factors affecting alcohol drinking behavior of the people in Saensuk Municipal Area, Mueang District, Chonburi province: Burapha University: Chonburi: 2017