ผลลัพธ์การดำเนินงานห้องปฏิบัติการสาธารณสุขแห่งหนึ่งในการตอบสนองการระบาดโรคโควิด 19 เป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ในเขตเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในหลายประเทศ โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาที่แสดงอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง การตรวจทางห้องปฏิบัติการสาธารณสุขเพื่อยืนยันเชื้อก่อโรคมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันควบคุมโรค การศึกษาแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการตรวจพบเชื้อและระยะเวลารอคอยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในตัวอย่างส่งตรวจจำนวน 156,730 ตัวอย่าง ที่เก็บระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน 2564 ผลการศึกษาพบว่าอัตราการตรวจพบเชื้อเท่ากับ 20.4 วิธี rRT-PCR ให้ผลบวกในอัตราที่สูงกว่าวิธี Ag-RDT ที่ร้อยละ 28.6 และ 13.6 ตามลำดับ พบการรายงานผลภายใน 1 วันอยู่ที่ร้อยละ 73.4 ช่วงอายุที่พบอัตราการตรวจพบเชื้อมากที่สุด ได้แก่ 0-15 ปี อาการที่มีอัตราการตรวจพบเชื้อมากที่สุด ได้แก่ ไอ ไข้ และมีน้ำมูก ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขต้องมีการวางแผนเตรียมการรองรับการระบาดของโรคติดต่ออันตราย มีการระดมทรัพยากรอย่างเพียงพอ เพื่อให้การตรวจยืนยันทำได้ถูกต้องและทันเวลา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่เผยแพร่ในวารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน |
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ชื่อและที่อยู่ อีเมล์ ที่ระบุในวารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ จะใช้เพื่อระบุตามวัตถุประสงค์ของวารสารเท่านั้น และจะไม่นำไปใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น หรือต่อบุคคลอื่น |
References
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน รูปแบบ API(Json/CSV Data Format). [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ21กันยายน2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.ddc.moph.go.th/
MJ Hoogeveen, EK Hoogeveen. Comparable seasonal pattern for COVID-19 and flu-like illnesses. One Health 2021; 13: 100277.
Ponnaiah M, Abdulkader RS, Bhatnagar T, Thangaraj JWV, Kumar MS, Sabarinathan R, et al. COVID-19 testing, timeliness and positivity from ICMR's laboratory surveillance network in India: profile of 176 million individuals tested and 188 million tests, March 2020 to January 2021. PLoS One 2021; 16(12): e0260979.
Pabbaraju K, Wong AA, Douesnard M, Ma R, Gill K, Dieu P, et al. A public health laboratory response to the pandemic. J Clin Microbiol 2020; 58(8): e01110-20.
Chen Y, Liu Q, Zhou L, Zhou Y, Yan H, Lan K. Emerging SARS-CoV-2 variants: Why, how, and what's next? Cell Insight 2022; 1(3): 100029.
Carabelli AM, Peacock TP, Thorne LG, Harvey WT, Hughes J, Carabelli AM, et al. SARS-CoV-2 variant biology: immune escape, transmission and fitness. Nat Rev Microbiol 2023. https://doi.org/10.1038/s41579-022-00841-7
SD Biosensor. STANDARDTM Q COVID-19 Ag Test. 2020.
CerTest Biotec. VIASURE Real Time PCR Detection Kits. 2020.
Wua YC, Chena CS, Chan YJ. The outbreak of COVID-19: An overview. J chin Med As 2020; 83(3): 217-20.
Worldometer. COVID-19 Coronavirus Pandemic [Internet]. [cited 2023 Feb 26]. Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/
Plipat T. Lessons from Thailand’s response to the COVID-19 pandemic. Thai Journal of Public Health 2020; 50(3): 268-77.
กองยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ. สถิติกรุงเทพมหานคร 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https://rb.gy/xvxzzu
Ghasemi S, Harmooshi NN, Rahim F. Diagnostic utility of antigen detection rapid diagnostic tests for Covid-19: a systematic review and meta-analysis. Diagn Pathol 2022; 17(1): 36.
Dias BDP, Gonçalves RL, Ferreira CS, Barbosa CC, Arrieta OAP, Santos SMSAD, et al .Update on rapid diagnostics for COVID-19: a systematic review. Int J Transl Med 2022; 2(2), 252-74.
Lee J, Song JU, Shim SR. Comparing the diagnostic accuracy of rapid antigen detection tests to real time polymerase chain reaction in the diagnosis of SARS-CoV-2 infection: a systematic review and meta-analysis. J Clin Virol 2021; 144: 104985.
Goldstein E, Lipsitch M, Cevik M. On the effect of age on the transmission of SARS-CoV-2 in households, schools and the community. J Infect Dis 2021; 223(3): 362-9.
Al-Rifai RH, Acuna J, Hossany FIA, Aden B, Memari SAA, Mazrouei SKA, et al. Epidemiological characterization of symptomatic and asymptomatic COVID-19 cases and positivity in subsequent RT-PCR tests in the United Arab Emirates. PLoS One 2021; 16(2): e0246903.