อนาคตภาพในทศวรรษหน้าของหน่วยบริการปฐมภูมิของเขตสุขภาพที่ 3

Main Article Content

มลวิภา กาศสมบูรณ์
สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ 1)เพื่อค้นหาปัจจัย และแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิที่สอดคล้องกับบริบท 2)เพื่อพัฒนาภาพอนาคตของรูปแบบการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ และ3)เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาในอนาคตของเขตสุขภาพที่ 3 รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธีใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Futures Research โดยเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 23 คน จำนวน 3 รอบ และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 ท่าน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา, ค่าร้อยละ, คําพิสัยระหว่างควอไทล์, ค่ามัธยฐาน และค่าฐานนิยม ผลการวิจัย พบว่า อนาคตภาพหน่วยบริการปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 3 รอบที่ 1 มีจำนวน 10 องค์ประกอบ 145 แนวโน้ม รอบที่ 2 จำนวน 90 แนวโน้ม รอบที่ จำนวน 112 แนวโน้ม มีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์(Q3-Q1) ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 ค่าสัมบูรณ์ของค่าฐานนิยม (Mode) – ค่ามัธยฐาน (Median) มีค่าไม่เกิน 1 ความต้องการพึงประสงค์มากกว่าร้อยละ 85 ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้วยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญภาพอนาคตที่พึงประสงค์สามารถนำไปปฏิบัติได้ จำนวน 10 องค์ประกอบ 109 แนวโน้ม  ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายระดับเขตสุขภาพ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 3 ควรนำผลที่ได้ไปวางแผน สนับสนุนการปฏิบัติงานและเตรียมพร้อมทางด้านโครงสร้าง บุคลากร และเครื่องมือ เพื่อการดำเนินงานในอนาคต

Article Details

How to Cite
1.
กาศสมบูรณ์ ม, อภิวัจนีวงศ์ ส. อนาคตภาพในทศวรรษหน้าของหน่วยบริการปฐมภูมิของเขตสุขภาพที่ 3. JDPC3 [อินเทอร์เน็ต]. 25 กรกฎาคม 2022 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];16(2):27-3. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/256181
บท
Researce Article

References

โสภณ เมฆธน, และคณะ. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. นทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (พ.ศ. 2560-2569) รองรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพ: สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2559.

ไทย.กฎหมาย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพ: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ; 2560.

สฤษดิ์เดช เจริญไชย, สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย, จารุณี จันทร์เพชร และ โกเมนทร์ ทิวทอง. การศึกษาการรับรู้ของประชาชนต่อความสำคัญของบริการคลินิกหมอครอบครัว. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต] เข้าถึงในวันที่ 10 ตุลาคม 2561.เข้าถึงจาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4909?locale-attribute=th

Creswell. J. W., Research Design Qualitative. Quantitative. and Mixed Methods Approaches, Thousand Oaks, California. SAGE Publications, Inc. 2009.

จุมพล พูนภัทรชีวิน. การวิจัยอนาคต. วารสารสมาคมการวิจัย. 2551; 13(2): 9- 13.

Macmillan, Thomas T. The Delphi Technique. Paper Presented at The Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Ca: Monterey, 1971: May 3-5.

Flanders, F. Determining curriculum content for nursery/landscape course work in vocational agriculture for the 21st century: A futures study utilizing the Delphi technique. Doctoral. dissertation, The University of Georgia.1988.

Murry, J. & Hammons, J. “Delphi: A versatile methodology for conducting qualitative research.” The Review of Higher Education, 1995;18 (4): 423.

ณิชชา เบญจพรวัฒนา. แนวโน้มการวิจัยเชิงอนาคตในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. `2558; 2(2) :59- 72.

ไพฑูรย์ อ่อนเกต, สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์, สวรรยา สิริภคมงคล. อนาคตภาพในทศวรรษหน้าของการป้ องกัน ควบคุมโรค ของหน่วยบริการปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2571). วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2563; 14 (1): 55- 67.

สวรรยา สิริภคมงคล, สำราญ สิริภคมงคล, ไพฑูรย์ อ่อนเกต, สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการให้บริการป้องกันควบคุมโรค: หน่วยบริการปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 3. วารสารควบคุมโรค, 2564; 47 (4) : 1072- 82

นิมัศตูรา แว, วิชิต เรืองแป้น, วารุณี หะยีสามะสา, นิสาพร มูหะมัด, นฤมล ทองมาก, อรรณพ สนธิไชย. รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.2561; 19(1):

- 96.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖. [อินเตอร์เน็ต] เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2565 เข้าถึงจาก https://bit.ly/3vXwwaS

โศรตรีย์ แพน้อย, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ชุลีพร เอกรัตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสาธารณสุขเขต 6. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2013; 22(2):64-7.

เพลินพิศ พงศ์ปริญญากุล, วิชิต เรืองแป้น, วารุณี หะยีมะสาและ, นิสาพร มูหะหมัด, ชมพูนุช สุภาพวานิช, นฤมล ทองมาก. อนาคตภาพที่พึงประสงค์ของหน่วยบริการปฐมภูมิบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียในทศวรรษหน้า.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28 ฉบับเพิ่มเติม (1) : 551- 64.