ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างสุขในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

ธานี โชติกคาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างสุขในชมรมผู้สูงอายุตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 –มกราคม 2564 จัดกิจกรรม 6 เดือนๆ ละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ชั่วโมง โดยเน้นพัฒนาสุข 5 มิติ ด้านที่ 1 สุขสบาย ด้านที่ 2 สุขสนุก ด้านที่ 3 สุขสง่า ด้านที่ 4 สุขสว่าง และด้านที่ 5 สุขสงบเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล แบบวัดคุณภาพชีวิตที่ดี แบบประเมินความสุข เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบบันทึกการเรียนรู้ชมรมผู้สูงอายุและแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired Sample t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมทำให้ระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพร่างกายด้านจิตใจด้านสัมพันธภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นจากระดับไม่ดีเป็นระดับดี และด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากระดับกลางเป็นระดับดี เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสร้างสุขพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.001 ทุกด้านและภาพรวมระดับความสุขเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำกว่าคนทั่วไปเป็นระดับสูงกว่าคนทั่วไป คะแนนค่าเฉลี่ยความสุขหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.001และการเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยการทำหน้าที่ของสมองด้านการรับรู้และความจำมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.001


 

Article Details

How to Cite
1.
โชติกคาม ธ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างสุขในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลดงตะขบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. JDPC3 [อินเทอร์เน็ต]. 8 เมษายน 2022 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];16(1):18-34. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/252220
บท
Researce Article

References

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย บทความวิชาการ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 2556; 3 (16): 1-19.

สุดารัตน์ นามกระจ่าง, ลักษณี สมรัตน, อนัญญา เดชะคำภู. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ กรณีศึกษาในผู้สูงอายุ ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ในเอกสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย บัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 2556.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. สรุปผลงานประจำปีผู้สูงอายุสานักงาน สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ปี 2562. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.ppho.go.th.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะพานหิน สำนักงานสารณสุขจังหวัดพิจิตร. สรุปผลงานประจำปีผู้สูงอายุ สำนักงานสารณสุขจังหวัดพิจิตร ปี 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.ppho.go.th.

Kemmis, S & Mctargrat, R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University. 1988.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์, กาญจนา วณิชรมณีย์, พรรณี ภาณุวัฒน์สุข. “คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ”. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

พัชรี ถุงแก้ว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 2561;13(39) 41-54

เสาวนีย์ โสบุญ. รูปแบบการสร้างเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่เทศบาลตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2560; 6(2): 43-54.

ทนงศักดิ์ มูลจันดา, ทัตภณ พละไชย. ผลการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติโรงเรียนผู้สูงอายุนาผาง ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2561; 2(2): 14-29.

Lee, WT, Ko SI, Lee JK. Health promotion behaviors and quality of life among community–dwelling elderly in Korea: A cross-sectional survey. International Journal of Nursing Studies. 2006; 43: 293-300.

ชัชญาภา สมศรี, พิกุลทอง โมคมูล. ผลของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ ต่อความสุขของผู้สูงอายุ ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2559;3(2):3-14.

Orem, D.E. Nursing concept of Practice 4thed. St Louis: Mosky Tear Book; 1991.

DupuyH J. The general well-being schedule. In F. McDowell & C. Newell (Eds.), A measuring health: A guide to ratingscales and questionnaires (p. 125). New York: Oxford University Press; 1977.

Dhramchareon W.Theeffects ofinternal andexternal factors on happiness inelderly. [thesis]. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2012. (in Thai).

Wang J, Chen CY, Lai LJ, Chen ML, Chen MY. The effectiveness of a community-based health promotion program for rural elders: a quasi-experimental design. Appl Nurs Res. 2014;27(3):181-5.

โฆษิต กัลยา, หยกฟ้า เพ็งเลีย, สุขเสริม ทิพย์ปัญญา, ประสงค์ มีทุน, อัญชลี ถีปลี. ผลของโปรแกรมความสุข 5 มิติเชิงประยุกต์ในผู้สูงอายุ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์เขตสุขภาพที่ 2. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก https://www.mhc2.go.th/newweb/files/docs/Research006.pdf

คนึง นันทะนะ. ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.thaischool.in.th/_files_school/62102138/data/62102138_1_20111209-131002.pdf