บริการเมทาโดนในชุมชนกับผลต่อการลดภาวะอาการอยากยาของผู้ใช้ยาด้วยวิธีฉีดที่รับการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การลดปริมาณการใช้ยาของผู้รับการบำบัดด้วยเมทาโดนในศูนย์บำบัดฐานชุมชนในพื้นที่ภูเขาสูง จังหวัดเชียงราย โดยศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การศึกษาเชิงปริมาณใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Universal คือ ทำการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามแบบตัวต่อตัวกับกลุ่มผู้รับการบำบัดในหน่วยบริการบำบัดสารเสพติดในชุมชนจำนวน 74 คน หรือทุกคนที่เข้ารับการบำบัดในช่วงระยะเวลาที่ทำการเก็บข้อมูล และการศึกษาเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์ระดับลึกผู้รับการบำบัด 8 คน โดยคัดเลือกจากข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อสะท้อนลักษณะของผู้รับการบำบัดที่สามารถเลิกใช้ยาได้แล้ว ยังคงมีการใช้บ้างเมื่อมีโอกาส และยังคงใช้ยาอยู่อย่างสม่ำเสมอ ผลการศึกษา พบว่า ผู้รับการบำบัดนี้ 5 คน ระบุว่า ตนเองสามารถเลิกใช้สารเสพติดได้แล้ว อีก 57 คน ระบุว่า ยังคงมีการใช้สารเสพติดอยู่บ้างเมื่อมีโอกาส และอีก 12 คน ยังคงใช้ยาอยู่อย่างสม่ำเสมอ ภาวะอาการที่เกี่ยวกับการใช้ยาหรืออาการอยากยา โดยเฉพาะอาการกระวนกระวายต้องการใช้ยาลดลงในกลุ่มที่เข้ารับการบำบัดในระยะเวลานาน สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีบริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากบริการบำบัดสามารถลดอาการนี้ลงได้ ก็จะช่วยให้ผู้ใช้ยาสามารถเดินไปสู่การลดหรือเลิกใช้ยาได้ดีขึ้นด้วย
Article Details
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่เผยแพร่ในวารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน |
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ชื่อและที่อยู่ อีเมล์ ที่ระบุในวารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ จะใช้เพื่อระบุตามวัตถุประสงค์ของวารสารเท่านั้น และจะไม่นำไปใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น หรือต่อบุคคลอื่น |
References
2.Pearshouse R. การบังคับบำบัดในประเทศไทย: ข้อสังเกตต่อพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545. Toronto: Canadian HIV/AIDS Legal Network; 2551.
3.ธงชัย อุ่นเอกลาภ. การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดแบบผู้ป่วยนอก: กองประสานการปฏิบัติการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด 2541.
4.คู่มือแนวทางการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดด้วยเมทาโดนระยะยาว. วัฒนธัญญกรรม ส, วีรชัย ว, ลักขณาภิชนชัช ล, วิสุทธิมรรค ท, ภาวนารมณ์ ว, editors. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2548.
5.Scott CK, Foss MA, Dennis ML. Pathways in the relapse—treatment—recovery cycle over 3 years. Journal of Substance Abuse Treatment. 2005;28(2, Supplement):S63-S72.
6.Xia Y, Seaman S, Hickman M, Macleod J, Robertson R, Copeland L, et al. Factors affecting repeated cessations of injecting drug use and relapses during the entire injecting career among the Edinburgh Addiction Cohort. Drug Alcohol Depend. 2015;151:76-83.
7.Naji L, Dennis BB, Bawor M, Plater C, Pare G, Worster A, et al. A Prospective Study to Investigate Predictors of Relapse among Patients with Opioid Use Disorder Treated with Methadone. Subst Abuse 2016;10:9-18.
8.Mohammadpoorasl A, Fakhari A, Akbari H, Karimi F, Arshadi Bostanabad M, Rostami F, et al. Addiction Relapse and Its Predictors: A Prospective Study2012. doi:10.4172/2155-6105.1000122 p.
9.Levine AR, Lundahl LH, Ledgerwood DM, Lisieski M, Rhodes GL, Greenwald MK. Gender-Specific Predictors of Retention and Opioid Abstinence During Methadone Maintenance Treatment. Journal of Substance Abuse Treatment. 2015;54:37-43.
10.ดลชัย ฮะวังจู, อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์, และ ดุสิตา พึ่งสำราญ. สถานการณ์การตีตราทางสังคมของผู้ใช้ยาเสพติด: กรณีศึกษาผู้รับการบำบัดสารเสพติดในโครงการบริการเมทาโดนชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2560;47(3):276-88.
11.Afkar A, Rezvani SM, Emami Sigaroudi A. Measurement of Factors Influencing the Relapse of Addiction: A Factor Analysis. Int J High Risk Behav Addict. 2017;6(3):e32141.
12.Greenwood GL, Woods WJ, Guydish J, Bein E. Relapse outcomes in a randomized trial of residential and day drug abuse treatment. Journal of Substance Abuse Treatment. 2001;20(1):15-23.
13.Shah N, Galai N, Celentano D, Vlahov D, Strathdee S. Longitudinal predictors of injection cessation and subsequent relapse among a cohort of injection drug users in Baltimore, MD, 1988–20002006. 147-56 p.