ความชุกภาวะความบกพร่องของสมรรถนะทางสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ณ โรงพยาบาลกาฬสินธิ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะความบกพร้องของสมรรนะทางสมอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคสมองเส่อื มสามารถเกดิ ขึ้นตามหลังโรคหลอดเลือดสมองได้บ่อย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะบกพร่องของสมรรถนะทางสมองและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะบกพร่องของสมรรถนะทางสมองเป็นการศึกษา Hospital based cross-sectional study กลุ่มตัวอย่าง 214 คน เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ส่งมาปรึกษายังแผนกเวชกรรมพื้นฟูและกายภาพบำบัดตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2561 ใช้แบบทดสอบ Thai Mental State Examination ใช้สถิติ Logistic Regression Analysis ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง นำเสนอค่า Adjusted Odd Ratio และช่วงเชื่อมั่น 95% confidence interval ผลการศึกษาพบเพศชายร้อยละ 51.87 เพศหญิง 48.13 ค่าเฉลี่ยคะแนนรวม TMSE
24.71 คะแนน (SD = 2.48) พบความชุกภาวะบกพร่องของสมรรถนะทางสมองร้อยละ 10.28 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะบกพร่องของสมรรถนะทางสมองคือ อายุ ≥ 60 ปี (AOR = 9.64 95% CI: 0.04 - 0.17)พยาธิสภาพด้านซ้ายของสมอง (AOR = 0.23 95% CI: 0.15 – 1.01) พยาธิสภาพทั้ง 2 ด้านของสมอง(AOR = 2.97 95% CI: 1.00 – 4.74) และประวัติการเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน(AOR = 15.00 95% CI: 0.89 – 9.39) สรุป ภาวะบกพร่องของสมรรถนะทางสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองพบได้บ่อย ดังนั้นการประเมินภาวะบกพร่องของสมรรถนะทางสมองเป็นสิ่งจำเป็นที่จะะช่วยให้การฟื้นฟูสมรรถภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้นการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองมีความสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง
Article Details
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่เผยแพร่ในวารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน |
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ชื่อและที่อยู่ อีเมล์ ที่ระบุในวารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ จะใช้เพื่อระบุตามวัตถุประสงค์ของวารสารเท่านั้น และจะไม่นำไปใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น หรือต่อบุคคลอื่น |
References
2. Censori B, Manara O, Agostinis C, Camerlingo M, Casto L, Galavotti B et al. Dementia after first stroke. Stroke 1996; 27(7): 1205-10.
3. Kokmen E, Whisnant JP, O’Fallon WM, Chu CP, Beard CM. Dementia after ischemic stroke: a population-based study in Rochester, Minnesota (1960-1984). Neurology 1996; 46(1): 154-9.
4. เจษฎา เขียนดวงจันทร์. โรคสมองเสื่อมตามหลังโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย 2558; 14(3): 146-52.
5. Mysiw WJ, Beegan JG, Gatens PF. Prospetive cognitive assessment of stroke patients before inpatient rehabilitation. Am J Phys Med Rehabil 1989; 68(4): 168-71.
6. Folstein MF, Folstein SE, McHugh PR. “Mini Mental State.” A practical method for grading the cognitive state of patients for the clinician. J Psychiat Res 1975; 12: 189-98.
7. Godefrog O, Fickl A, Roussel M, Auribault C, Bugnicourt JM, Lamy C et al. Is the Montral Cognitive Assessment superior to the Mini-Meal State Examination to detect poststroke cogntive impairment? A study with neuropsychological evaluation. Stroke 2011; 42(11): 1712-6.
8. อัญชุลี เตมียประดิษฐ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์, ชุมศรี หังสพฤษ์, อ้อมทิพย์ พันธ์ศิริ. Mini-mental state examination (MMSE): แบบทดสอบในการตรวจหาภาวะความพิการทางสมอง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2533; 35: 208-16.
9. กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย. สารศิริราช 2536; 45(6): 359-74.
10. Poungvarin N, Prayoonwiwat N, Devahastin V, Viriyavejakul A. Dementia in Thai stroke survivors: analysis of 212 patients. J Med Assoc Thai 1995;78:337-43.
11. Wangtongkum S, Sucharitkul P, Silprasert N, Inthrachak R. Prevalence of dementia among population age over 45 years in Chiang Mai, Thailand. J Med Assoc Thai 2008; 91(11): 1685-90.
12. สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพ: บริษัทธนาเพรส จ?ำกัด; 2557.
13. Surawan J, Areemit S, Tiamkao S, Sirithanawuthichai T, Saensak S. Risk factors associated with post-stroke dementia: a systematic review and meta-analysis. Neurol Int 2017; 9(3): 63-8.
14. Gwo-Chi Hu, Yi-Min Chen. Post-stroke dementia: epidemiology, mechanism and management. Int J of Gerontology 2017; 11(4): 210-4.
15. อลิสรา เตชะไพฑูรย์, วิษณุ กันทรทิพย์, อรฉัตร โตษยานน์. สมรรถภาพสมองของผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2543; 9(3): 120-3.
16. นันทกา ภักดีหงส์, เจียมจิต แสงสุวรรณ. ภาวะพร่องของสมรรถภาพสมองในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555; 7(1): 66-79.
17. Saxena SK. Prevalence and Correlates of Cognitive Impairment in Stroke Patients in a Rehabilitation Setting. Inter J Psy Rehabil 2006; 10(2): 37-47.
18. Patel MD, Coshall C, Rudd AG, Woife CD. Cognitive impairment after stroke: clinical determinants and its associations with long-term stroke outcomes. J Am Geriatr Soc. 2002; 50(4): 700-6.
19. Toole J, Bhadelia R, Williamson J, Veltkamp R. Progressive cognitive impairment after stroke. J Stroke Cerebrovasc Dis 2004; 13(3): 99-103.
20. Pendlebury ST, Rothwell PM. Prevalance, incidence and factors associated with pre-stroke and post-stroke dementia: a systematic review and meta-analysis. Lancet Neurol 2009; 8(11): 1006-18.
21. สายสุนีย์ เลิศกระโทก, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุถชัย ปิติกุลตัง. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ต?ำบลอรพิมพ์ อ?ำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2556; 43(1): 42-54.