การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดเย็นน้ำมันมะพร้าวจากเครื่องบ่มและองค์ประกอบทางเคมี

ผู้แต่ง

  • บุษราคัม บุษราคัม สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • ประวีณา ปานเนียม สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • มนัญชยา พิมพา สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • สุภาภรณ์ ขุนดำ สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000

คำสำคัญ:

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น GC-MS องค์ประกอบทางเคมี กรดไมริสติก กรดลอริก

บทคัดย่อ

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นประกอบด้วยวิตามินและสารอาหารหลายชนิดจึงสามารถนำน้ำมันนี้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและยาต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยเครื่องบ่มและจากการสกัดแบบดั้งเดิม มะพร้าวขูดซื้อจากตลาดนัดในจังหวัดเพชรบุรีเดือนเมษายน 2565 สกัดด้วยวิธี 2 ภายใต้สภาวะที่แตกต่างกัน น้ำมันที่ได้นำไปเตรียมเป็นเอสเทอร์ของกรดไขมันแล้วจึงนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่อง GC-MS สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที ผลการวิจัยพบว่าการสกัดน้ำมันมะพร้าวด้วยเครื่องบ่ม ที่กำหนดอุณหภูมิ 40 oC ใช้เวลาเพียง 11 ชั่วโมง โดยพบว่าน้ำมันจะถูกสกัดออกมามากที่สุดที่ชั่วโมงที่ 4 ได้น้ำมันปริมาตร 41.00±1.00 ml รองลงมาช่วงชั่วโมงที่ 5-7 ได้ปริมาตรน้ำมันเฉลี่ย 32.00-32.67 ml ปริมาตรรวมของมันมะพร้าวที่ได้ทั้งหมดที่ได้จากบ่มมีปริมาณใกล้เคียงกับกระบวนการสกัดแบบดั้งเดิม โดยไม่แตกต่างที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 น้ำมันมะพร้าวจากเครื่องบ่มมีองค์ประกอบทางเคมีอยู่ในช่วงกำหนดมาตรฐานของน้ำมะพร้าว โดยองค์ประกอบหลักได้แก่กรดไขมัน คือ กรดไมริสติกและกรดลอริก ประมาณ 22.19 และ 56.36 % ตามลำดับ มีค่าสูงกว่ากระบวนการสกัดแบบดั้งเดิม และน้ำมันที่ได้มีกลิ่นหอมของมะพร้าว ดังนั้นงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของเครื่องบ่มและประสิทธิภาพของกระบวนการสกัดที่สามารถลดเวลาแต่ให้ผลผลิตสูงและคงคุณภาพไว้ได้

References

พงสกร คชาพงศ์กุล. (2561). เครื่องสกัดน้ำมันมะพร้าวประหยัดพลังงานแบบครบวงจรเพื่อเกษตรกร. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ศุภมาศ ปั้นปัญญา และ ศิวลักษณ์ ปฐวีรัตน. (2559). ศึกษาการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ด้วยวิธีการแช่เยือกแข็ง. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 22 (1): 1-6.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ. (2562). รายงานสินค้าน้ำมันมะพร้าวในตลาดสหรัฐอเมริกา (HS Code 1513.) สืบค้นจาก https://www.ditp.go.th/ contents_attach /567745/567745.pdf

อัสม๊ะ ลือมาสือนิ, ลตีฟา สมานพิทักษ์ และซุลกิพลี กาซอ. (2560). การศึกษาและออกแบบตู้ควบคุมอุณหภูมิในการฟักไข่ไก่แบบกลับไข่อัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 2 (1): 39-49.

Agarwal R. K., and Bosco S. J. D. (2017). Extraction processes of virgin coconut oil. MOJ Food Processing & Technology. 4 (2): 54-56.

Chan E. and Elevitch C.R. (2006). Cocos nucifera (coconut) Arecaceae (palm family) ver.2.1. Species Profiles for Pacific Island Agroferestry. Hawii: Permanent Agricultural Resource (PAR).

Chomchalow N. (2011). Health and Economic Benefits of Coconut Oil Production Development in Thailand. AU J.T., 14 (3):181-187.

Chowdhury K., Banu L.A., Khan S. And Latif A. (2007).

Studies on the fatty acid composition of edible oil. Bangladesh J. Sci. Ind. Res., 42 (3): 311-316.

Kesonkan K., Yeerum C.m Kiwfo K., Grudpan K. and Vongboot M. (2022). Green Downscaling of Solvent Extractive Determination Employing Coconut Oil as Natural Solvent with Smartphone Colorimetric Detection: Demonstrating the Concept via Cu (II) Assay Using 1,5-Diphenylcarbazide. Molecule. 27 (8622): 1-11.

da Fonseca A.M., Lemos T.L.G., Aguiar G.A. and Bizerra A.M.C.(2014).Fatty Chemical composition and antioxidant activities of coconut oil (Cocos nucifera L.). Journal of Medicinal Plant Research, 8 (34): 1081-1085

Kumar P.K.P. and Krishna A.G.G. (2015). Physicochemical characteristics of commercial coconut oil produced in India. Grasas Aceites., 66 (1): 1-11.

Oseni N.T., Fernando W.M.A.D.B., Coorey R., Gold I. and Jayasena V. (2017). Effect of extraction techniques on the quality of coconut oil. African Journal of Food Science. 11 (3): 58-66.

Seneviratne K.N. and Jayathilaka N. (2016). Coconut oil: Chemistry and nutrition. Lakva: Battaramulla.

Sundrasegaran S. and Mah S.H. (2020). Extraction Methods of Virgin Coconut Oil and Palm-pressed Mesocarp Oil and their Phytonutrients. eFood. 1 (6): 381–391.

Wang J., Wu W., Wang X., Wang M. and Wu F. (2015). An effective GC method for the determination of the fatty acid composition in silkworm pupae oil using a two-step methylation process. J. Serb. Chem. Soc., 80 (1): 9-20.

การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดเย็นน้ำมันมะพร้าวจากเครื่องบ่มและองค์ประกอบทางเคมี (Study of efficiency of cold coconut oils extraction from incubator and its chemical constituents)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023